"ความหมายของประกาศ EASA ว่า ไม่แบน คือไม่มีมาตรการเพิ่มเติมกับสายการบินของไทย คือ การบินปกติยังทำได้ตามเดิม ส่วนการที่สายการบินจะเพิ่มเที่ยวบินหรือเส้นทางบินใหม่ อยู่ที่การเจรจาแต่ละประเทศ"
โดย บพ.จะต้องเร่งแก้ปัญหาแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern: SSC) เพื่อปลด SSC ให้ได้ตามแผนงานโดยเร็วที่สุด โดยเมื่อทราบผล EASA แล้ว ทางบพ. จะสรุปแผนงานการปรับปรุงคู่มือเพิ่มดำเนินการตรวจสอบสายการบิน (Re- certification)เสร็จและเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อกำกับดูแลได้ และเร่งรัดการตรวจสอบสายการบิน โดยจะมีการประสานงานทั้ง ICAO และ EASA
“สรุปถือเป็นข่าวปานกลาง ไม่เลวร้าย ไม่ดีจนเกินไป ส่วนกรณีที่ 2 คือ EASA จะส่งทีมเข้ามาขอทำการตรวจสอบ บพ.ด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินนั้น จะต้องดูท่าทีต่อไป แต่วันนี้ EASA ประกาศเป็นแนวทางที่ 1 ส่วนที่เป็นห่วง ว่าจะมีการเพิ่มรายชื่อแบนสายการบินไทยห้ามบินเข้าประเทศอียู ก็ไม่มีออกมา ดังนั้นการที่ EASA จะส่งทีมงานเข้ามาหลังจากนี้จะเป็นในรูปของการเข้ามาช่วยเหลือ บพ.มากกว่า"รมว.คมนาคมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิ.ย. ทางสายการบินไทย ได้ไปชี้แจง EASA ซึ่งทาง EASA รับทราบแต่ไม่มีท่าทีใดๆ จากนั้นวันที่ 3-5 มิ.ย. คณะของบพ.ไปไปพบ EASA ซักถามประมาณ 3 ชม. โดยยืนยันว่าเข้าใจและไม่เพิ่มปัญหาให้ บพ. พร้อมทั้งยินดีส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยแก้ปัญหา โดยจะติดตามผล ICAO โดยจะไม่เพิ่มมาตรการใดๆ นอกเหนือจากแนวทางของ ICAO
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่า หลังจากเมื่อมีประกาศ ICAO ว่า บพ.ติด SSC ทางผู้บริหารคมนาคมและบพ.ได้ออกเดินสายไปยังประเทศต่างๆ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ยุโรป และอเมริกา ซึ่งเข้าใจปัญหา ที่เกิดขึ้น และมั่นใจมาตรการด้านการบินของไทย ซึ่งที่ผ่านมาสายการบินของไทย ถูกสุ่มตรวจสอบ การปฏิบัติการบำรุงรักษาอากาศยานในลานจอด (Ramp Inspection) ถี่มากขึ้น ซึ่งไม่เจอปัญหาที่กระทบกับความปลอดภัยแต่อย่างใด ขณะนี้เหลือเพียงการตรวจสอบสายการบิน 28 แห่งตามคู่มือใหม่ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO ให้เสร็จเร็วที่สุด