หากได้รับความเห็นชอบ ขั้นตอนต่อไป ก็จะมีการเซ็นสัญญาร่วมลงทุนกับพันธมิตรพม่าซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จะเข้าร่วมทุน 30% ส่วน TTW จะเข้าลงทุนสัดส่วน 70% จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 59 ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือน ส่วนการเก็บเงินค่าน้ำ จะเก็บในนามของทางการเมียนมาร์ โดยบริษัทจะจัดจุดบริการการชำระเงินค่าบริการให้
นอกจากนี้ บริษัทได้รับการติดต่อจากหลายเมืองในเมียนมาร์ที่จะให้บริษัทเข้าไปพัฒนาและผลิตน้ำประปา รวมทั้งประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา ก็ยงได้ติดต่อเข้ามา บริษัทพิจารณาอยู่ โดยบริษัท มิตซุย วอเตอร์ โฮลดิ้งส์(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TTW (ถือ 26%) มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสของบริษัท
ส่วนกรณีการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่ปทุมธานีนั้น นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทไม่ได้รับผลกระทบและยังผลิตน้ำประปาได้ปกติ โดยใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความเค็มเล็กน้อย แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ขณะเดียวกัน บริษัทได้แจกจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ใกล้เคียงคือ ธัญบุรี ที่ขาดแคลนน้ำ ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาคธัญบุรีหยุดทำการผลิต ทำให้การผลิตของโรงประปาปทุมธานี (PTW) ของบริษัท เดินเต็มกำลังการผลิตที่ 3.8 แสนล้านลบ.ม./วัน