3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาต และราคา 16,080 ล้านบาท กรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล และ 7. ประเด็นอื่นๆ
หลังจากการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนทั่วไปก็ยังคงสามารถแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศฉบับนี้ได้อีก โดยสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผุ้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงที่สำนักงานกสทช.กำหนดจัดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 31 ส.ค.58 ในส่วนภูมิภาค จ.ขอนแก่น หรือด้วยวิธีการส่งเอกสารโดยตรง หรือผ่านช่องทางจดหมาย, จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงโทรสาร ต่อสำนักงาน กสทช. ซึ่งสามารถแสดงความคิดเห็นได้จนถึงวันที่ 6 ก.ย.58
นายฐากร กล่าวว่า หลังจากมีการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเสร็จสิ้น จะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดกทค.ในช่วงปลายเดือนก.ย.58 และในคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้ ก็จะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กทค.ในวันที่ 26-27 ส.ค. และจะประกาศในประกาศในราชกิจจานุเบกษาปลายเดือนส.ค.58 ต่อไป
ส่วนกรอบเวลาการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz กำหนดไว้เป็นวันที่ 11 พ.ย.58 ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ยังไม่ได้สรุปอย่างชัดเจนว่าจะประมูลในวันเดียวกันหรือไม่ โดยจะรอให้การประชาพิจารณ์คลื่น 900 MHz เสร็จสิ้นก่อน ซึ่งกรอบเวลาเดิมกำหนดให้มีการประมูลคลื่นดังกล่าวในวันที่ 15 ธ.ค.58
ที่ผ่านมา กสทช.ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นแล้วในคลื่นความถี่ 1800 MHz พบว่า ภาคประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในด้านของค่าบริการที่อาจจะปรับสูงขึ้น
ขณะที่การเปิดรับฟังความเห็นคลื่นความถี่ 900 MHz วันนี้ ในช่วงเช้า พบว่าในประเด็นขนาดของคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต 20 MHz ใบอนุญาตละ 10 MHz ความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการหน่วยงานของทีโอทีและสหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอที มีการคัดค้านให้ไม่ควรนำคลื่นความถี่ 900 MHz มาประมูล 4 จี เนื่องจากขนาดของคลื่นความถี่ไม่มีความเหมาะสม และไม่เพียงพอต่อการรองรับการให้บริการความเร็วสูงของสัญญาณ 4 จี
ส่วนการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพฯ บมจ.ทีโอที ในการออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐระงับการนำคลื่นความถี่ 900 MHz ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการ 4G จากเห็นว่าการทำหน้าที่ของกสทช.เป็นการละเมิดสิทธิ์การครอบครองทรัพย์สินของ บมจ.ทีโอที ทางสำนักงาน กสทช.ยืนยันว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz และยังคงเดินหน้าที่จะทำให้เกิดการประมูลได้ตามกรอบเวลาหรือเร็วขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่ประชาชนบางส่วน มองว่า หน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรยึดติดกับคลื่นความถี่ที่หมดอายุสัมปปทานไปแล้ว และควรเปิดกว้างในการประมูล ส่วนผู้ประกอบการก็แสดงความเห็นด้วยที่จะให้เกิดการประมูลความความถี่ 900 MHz และมีการเสนอให้แบ่งชุดการประมูลเป็นแบบ บล็อคละ 5 MHz จำนวน 4 บล็อค เนื่องจากจะทำให้มีการยืดหยุ่นในการเข้าประมูลและให้เกิดราคาที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานภาครัฐไม่เห็นด้วยที่จะนำเอาคลื่นความถี่ 900 MHz มาประมูลในช่วงนี้ เพราะไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม และควรจะนำคลื่นความถี่ทั้งหมดที่มีไปรีฟาร์มมิ่งหรือนำมาจัดสรรใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อน
อย่างไรก็ดี กสทช.จะนำความคิดเห็นที่ได้รับไปรวบรวมกับความคิดเห็นที่มีผู้ให้ความเห็นต่อร่างประกาศฉบับดังกล่าวในทุกช่องทาง เพื่อปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น