ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม381,111.62 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 24, 2015 17:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (17 - 21 สิงหาคม 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 381,111.62 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 76,222.32 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 14% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 64% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 242,382 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน)

ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 107,964 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 6,413 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28% และ 2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB196A (อายุ 3.8 ปี) LB206A (อายุ 4.9 ปี) และ LB176A (อายุ 1.8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 29,646 ล้านบาท 21,122 ล้านบาท และ 19,123 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT164A (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 374 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) รุ่น SCC184B (A(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 346 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT174A (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 342 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวปรับตัวลดลงในช่วง -2 ถึง -7 bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะอายุ 3 ปี อยู่ที่ระดับ 1.66% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอายุ 5 ปีขึ้นไป อยู่ที่ระดับ 2.17-3.73% ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่ เหตุการณ์ระเบิดที่บริเวณแยกราชประสงค์ซึ่งจะส่งผลกระทบระยะสั้นต่อความมั่นใจของนักลงทุนรวมถึงการท่องเที่ยว ในส่วนของรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณว่า Fed กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมยังทรงตัว โดยปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 0.1% จากเดือนก่อนหน้า ทำให้นักลงทุนในตลาดคาดว่า Fed อาจจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนนี้ อีกทั้งยังต้องติดตามการเจรจาระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเพื่อลดความตึงเครียดบริเวณคาบสมุทรเกาหลีหลังจากที่มีการเปิดฉากยิงข้ามพรมแดนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

สัปดาห์ที่ผ่านมา (17 ส.ค. - 21 ส.ค. 58) เงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้นสุทธิ 190 ล้านบาท โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุคงเหลือ > 1 ปี) ประมาณ 2,047 ล้านบาท และลดลงในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 1 ปี) ประมาณ 1,857 ล้านบาท

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                              สัปดาห์นี้         สัปดาห์ก่อนหน้า    เปลี่ยนแปลง            สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                (17 - 21 ส.ค. 58)   (10 - 14 ส.ค. 58)          (%)  (1 ม.ค. - 21 ส.ค. 58)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)        381,111.62          335,152.87       13.71%          12,878,016.07
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                           76,222.32           83,788.22       -9.03%              84,170.04
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                108.35              107.87        0.44%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index)                  108.05              107.95        0.09%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                                    1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (21 ส.ค. 58)                                    1.43       1.44    1.45    1.64    2.13     2.66     3.19      3.7
สัปดาห์ก่อนหน้า (14 ส.ค. 58)                               1.43       1.44    1.45    1.66    2.17     2.73     3.25     3.73
เปลี่ยนแปลง (basis point)                                   0          0       0      -2      -4       -7       -6       -3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ