ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน เอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องลดลง การที่ภาครัฐมีมาตรการทางการเงิน และภาษีสำหรับเอสเอ็มอีออกมาในขณะนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเสริมสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษร้อยละ 4 สูงสุด 7 ปี นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์การค้ำประกันกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยจะได้รับฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในปีแรก และจ่ายเพียงร้อยละ 0.5 ในปีที่ 2, ร้อยละ 1.0 ในปีที่ 3 และร้อยละ 1.5 ในปีที่ 4 (อัตราปกติร้อยละ 1.75 ต่อปี)
ขณะที่ทีเอ็มบี ก็มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ตอบโจทย์โดนใจ “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี 3 เท่าพลัส" เพื่อมุ่งช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายย่อยที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยพิจารณาให้วงเงิน 3 เท่า ครอบคลุมเงินหมุนเวียนเผื่ออนาคตเพิ่มอีก 50% มีวงเงินสำรองสินค้าอีก 30 วัน และขั้นตอนการสมัครที่ไม่ยุ่งยากสะดวกรวดเร็ว รับเงินเร็วใน 15 วัน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า หลังจากเปิดตัวไป 4 เดือน ทีเอ็มบี ได้ปล่อยวงเงินไปกว่า 5,000 ล้านบาท ช่วยลูกค้าเอสเอ็มอีกว่า 1,400 ราย
"ทีเอ็มบี เชื่อมั่นว่าโครงการสินเชื่อทั้งหมดจะส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยตรงอย่างชัดเจน ในการช่วยลดต้นทุนให้กับเอสเอ็มอีทำให้เกิดสภาพคล่อง มีเงินทุนเวียนเพียงพอ และต่อยอดธุรกิจได้อย่างไม่สะดุด อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยทั้งระบบต่อไป"นายไตรรงค์ กล่าว