ดังนั้น ท่าอากาศยานดอนเมือง(ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่(ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) และ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.)จึงได้รับการรับรอง Airport Carbon Accreditation ระดับที่ 2 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา หลังจาก ทดม. ทชม. ทชร. และทหญ. ได้รับการรับรอง Airport Carbon Accreditation ระดับที่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคม 2557
ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ได้รับการรับรอง Airport Carbon Accreditation ระดับที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 และระดับที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2557
สำหรับท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน จึงยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้
ทั้งนี้ ตามที่ Airports Council International Europe (ACI Europe) ได้จัดทำโครงการ Airport Carbon Accreditation ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนให้ท่าอากาศยานดำเนินการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Emission) และบริหารจัดการการใช้พลังงานเพื่อให้การปล่อย Carbon Emission ของท่าอากาศยานลดลง และเพื่อให้ท่าอากาศยานเกิดความตื่นตัวในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในทุกอุตสาหกรรม และผลักดันให้ท่าอากาศยานมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสังคม โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) ระดับที่ 1 ‘Mapping’ ท่าอากาศยานจะต้องจัดทำรายงาน Carbon Footprint (เฉพาะกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยาน) ให้ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องผ่านการทวนสอบจากผู้ทวนสอบอิสระ (2) ระดับที่ 2 ‘Reduction’ ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 1 และต้องจัดทำแผนบริหารจัดการคาร์บอนที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและแนวทางในการลดการปล่อย Emission
(3) ระดับที่ 3 ‘Optimisation’ ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 2 และเพิ่มขอบเขตของรายงาน Carbon Footprint โดยจะต้องรวม Emissionที่เกิดจากกิจกรรมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยานเข้ามารายงาน รวมถึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อย Emission จากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอันเป็นแหล่งกำเนิดของ Emission ด้วย และ (4) ระดับที่ 3+ ‘Neutrality’ ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 3 และทำการซื้อหรือจัดหา Carbon Credit เพื่อชดเชยปริมาณ Emissionที่ปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยาน