ทั้งนี้ข้อมูลผู้ออกตราสารตามแผนการลงทุนนั้น Banco Latinoamericano de Comercio Exterior , S.A (BLADEX) เป็นธนาคารระดับนานาชาติ ( Specialized supranational bank ) ที่ถูกจัดตั้งโดยการร่วมมือกันของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ในภูมิภาคละตินอเมริกา และแคริบเบียน เพื่อให้การสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา Emirates NBD PJSC เป็นธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นองค์กรของรัฐบาล และมีขนาดใหญ่ที่สุดในแง่ขนาดของสินทรัพย์ และจำนวนสาขาใน UAE และ 40% ของสินเชื่อเป็นการปล่อยให้กับภาครัฐทำให้คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดี
Standard Bank of South Africa (SBSAL) ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยให้บริหารทั้งด้าน Traditional banking และcapital market โดยทางธนาคารมีสถานะเป็นบริษัทลูกที่ถูกถือหุ้น 100% โดย Standard bank Group ซึ่งเป็นกลุ่มทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแอฟริกาใต้ และมีการทำธุรกิจทั่วทั้งทวีปแอฟริกา
Bank of China (BOC) มีสถานะเป็นธนาคารภาครัฐถือหุ้นใหญ่โดยหน่วยงานเพื่อการลงทุนของรัฐบาลจีน 67.55% มีบทบาทในการสนองนโยบายของภาครัฐ มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของโลก และขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของธนาคารในจีน
Union National Bank หรือ UNB เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2525 โดยมีรัฐ Abu Dhabi ถือหุ้นในสัดส่วน 50% ปัจจุบันธนาคารมีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของธนาคารในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)และมีสาขาที่ให้บริการทั้งหมดมากกว่า 100 สาขาโดยมีสาขาต่างประเทศอยู่ในประเทศจีน อียิปต์ และกาตาร์
นอกจากนี้บริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายรอบใหม่ (Roll Over) ของกองทุนเปิดกรุงไทยประจำ 6 เดือน คุ้มครองเงินต้น 2 ( KTFIX6M2 ) เสนอขายถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2558 อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐทั้ง 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนผลตอบแทนประมาณ 1.00% ต่อปี เหมาะสำหรับลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ
อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุตามการอ่อนค่าของเงินบาท และแรงขายทำกำไร โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิจำนวน 7,085 ล้านบาท ส่วนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุตามแรงขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นตามกระแส Risk on หลังนักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ( FED ) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณการขยายมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (QE) ออกไปเกินปี 2016 และจีนปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 6 นับจากเดือนพฤศจิกายน 2557 รวมถึงการปรับลด RRR เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลัง GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวต่ำกว่าเป้า 7% โดยสรุปอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุคงเหลือ 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 bps.มาอยู่ที่ 0.66% ต่อปี อายุคงเหลือ 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7 bps. มาอยู่ที่ 1.43% ต่อปี และอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 bps.มาอยู่ที่ 2.09% ต่อปี สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นผลการประชุม FED ทิศทางเศรษฐกิจโลก และทิศทางการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนระหว่างประเทศ