นอกจากนี้ กทค.พิจารณาว่าจะเสนอให้ใช้คลื่น 2300 เมกะเฮิร์ต จำนวน 20 เมกะเฮิร์ต จากทั้งหมดที่ ทีโอทีมีอยู่ 60 เมกะเฮิร์ต โดยให้นำคลื่นที่เหลือมาคืน กสทช.ที่เหลือ 40 เมกะเฮิร์ต
"เราจะดูสิทธิเดิมของเขาก่อน ดูข้อกฎหมาย แล้วก็ปรับเงื่อนไขจะให้ทีโอทีนำไปปรับปรุงคลื่น 2300 เมกะเฮิร์ต และให้ใช้ 20 เมกะเฮิร์ต ที่เหลืออีก 40 เมกะเฮิร์ตก็เอามาคืน ถ้ามีมติแล้วก็จะประสานกับทีโอทีว่าเขาจะยอมรับเงื่อนไขนี้หรือไม่" น.พ.ประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ หากทีโอที ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว ก็มีโอกาสที่ทีโอทีจะฟ้องศาลปกครองเพื่อไม่ให้ กสทช.นำคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตไปเปิดประมูล
นอกจากนี้ กทค.จะพิจารณาเอกชนที่ยื่นประมูล 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ต ว่ามีรายใดจะผ่านคุณสมบัติ ทั้งนี้เมื่อ 22 ต.ค.ที่ผ่านมามีผู้มายื่นคำขอเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ 4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ขณะเดียวกัน ทีโอที จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 30 ต.ค.นี้ เพื่อหารือว่าจะสรุปว่าจะยื่นฟ้องศาลเพื่อคัดค้าน กสทช.ที่นำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตไปประมูลในวันที่ 12 พ.ย. นี้