"อินโดฯ รัฐบาลเขาเลือกที่จะทำเรื่องของโรงกลั่นก่อน เขานำเข้า finish product เยอะ และส่งออกน้ำมันดิบ คือเขาขาดกำลังการกลั่น แต่เราบอกเขาว่า value chain ได้ไม่เยอะ มาร์จิ้นไม่เยอะ ไม่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พยายามจะบอกเขา แต่เขาก็บอกว่าอันนี้มันสำคัญสำหรับคนในชาติ เขาก็เลยอยากจะทำโรงกลั่นก่อน พอโรงกลั่นอืด เขาก็จะไปทำเรื่องโรงไฟฟ้า เราก็รอได้ เฟสต่อไปเขาก็ต้องทำ ถ้าโครงการดีเลย์แล้วเป็นประโยชน์ ชัดเจนก็โอเค ไม่มารื้อทีหลัง ปีสองปีนี้เราก็ทำการศึกษาไปเรื่อยๆ เขาก็มาให้เราศึกษาเรื่อยๆยังไม่ได้ทิ้ง"นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
ส่วนความคืบหน้าของโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในสหรัฐ ที่มีมูลค่าราว 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา โดยคาดว่าจะใช้งบศึกษาราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐทั้งในส่วนของการออกแบบ การหาตลาด และพันธมิตร รวมถึงการหาแหล่งเงินที่เหมาะสมด้วย โดยคาดว่าจะสรุปความชัดเจนได้ในราวกลางปี 59
ขณะที่การลงทุนเพื่อขยายงานภายในประเทศของกลุ่มบริษัทนั้นยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการส่งเสริมพิเศษเพื่อเร่งให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้นนั้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของภาคเอกชน เพราะการลงทุนของกลุ่มบริษัทนั้น มีมูลค่าโครงการสูงเป็นหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว