พร้อมกันนี้ได้รายงานถึงความก้าวหน้าในการตรวจสอบของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration : FAA) และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือเอียซ่า (EASA) อย่างไรก็ตาม ประธาน ICAO ขอให้ไทยทำงานร่วมกับทำงานของ ICAO ที่สำนักงานในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด และบอกว่า ไม่เคยเห็นผู้นำประเทศไหนให้สำคัญกับเรื่องนี้เหมือนไทยที่ นายกรัฐมนตรีของไทยได้มอบหมายให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเดินทางไปพบประธาน ICAO
นายอาคมกล่าวว่า ตนได้กล่าวในการอภิปรายกลุ่ม ICAO International World Aviation Forum ว่า แม้ประเทศไทยจะติดธงแดง แต่ได้มีการปรับปรุงขั้นตอน การออกใบรับรอง ใบอนุญาต ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับ การเข้มงวดมาตรฐานการบินเพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางที่ปลอดภัยจะสร้างโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งมีการคาดหมายว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนการเดินทางโดยเครื่องบินสูงถึง 1,000 ล้านคนต่อปี โดยในเอเชียจะมีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวสูง โดยในเอเชียแปซิฟิก มีคำสั่งซื้อเครื่องบินในสัดส่วน 36% ของคำสั่งซื้อทั่วโลก
ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการบินมี 3 เรื่องหลัก คือ 1. การพัฒนาฟรีโซนของสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มขีดความสามารถ โดยบมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือทอท.จะร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในภูมิภาค 2. การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบินที่สนามบินอู่ตะเภา โดยสายการบินลุฟท์ฮันซ่า สนใจที่จะร่วมทุนกับบมจ. การบินไทย (THAI) เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานที่อู่ตะเภา ซึ่งจะเสริมศักยภาพให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคได้ 3. การสร้างอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มในสนามบินหรือ Value Added Service โดยการนำสินค้าเกษตร พืชผักผลไม้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ที่ตรงกับความต้องการของตลาดยุโรป