รายละเอียดรายจ่ายลงทุนปี 59 จำแนกตามภูมิภาคได้ดังต่อไปนี้
1. โครงการในประเทศไทย มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพื่อ รักษาระดับปริมาณการผลิต มีโครงการหลักที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอาทิตย์ โครงการเอส 1 โครงการบงกช โครงการคอนแทร็ค 4 และโครงการ MTJDA
2. โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ส่วนใหญ่เป็นราย จ่ายสไหรับโครงการในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ การลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตของโครงการซอติก้า โครงการ ยาดานาและโครงการเยตากุน รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของโครงการเมียนมาร์เอ็ม 3
3. โครงการในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้แอฟริกาและตะวันออกกลาง มี ประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 โดยมีกิจกรรมที่สาคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอ เรีย วัน และกิจกรรมการสำรวจในโครงการบราซิล บีเอ็ม อีเอส 23
ทั้งนี้ ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีประมาณการรายจ่ายรวม 5 ปี ในช่วงปี 59-63 ดังนี้
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ. ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2559-2563 รายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 2,090 2,726 2,673 2,401 1,207 11,097 รายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) 1,353 1,450 1,308 1,226 1,331 6,668 รายจ่ายรวมทั้งสิ้น (Total Expenditure) 3,443 4,176 3,981 3,627 2,538 17,765
จากแผนงานดังกล่าว ส่งผลให้ ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวัน (จากโครงการ ปัจจุบัน) ระหว่างปี 2559 - 2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หน่วย : พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ย 333 331 322 296 302
บริษัทมีการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ตกต่า เห็นได้จากประมาณการรายจ่ายปี 2558 ที่ปรับ ลดประมาณร้อยละ 25 จากงบประมาณที่ตั้งไว้เมื่อต้นปี 2558 และยังมีการปรับลดอย่างต่อเนื่องในงบประมาณสาหรับปี 2559 นอก จากนี้ บริษัทมีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ามันอย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมความพร้อมโดยการบริหารสภาพคล่องให้มีความยืดหยุ่น ในการปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะราคาน้ามันที่ผันผวนในตลาดโลก