นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น(AMATA) คาดว่าการ
พัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเมียนมาร์จะมีความคืบหน้าในอีก 1 ปีข้างหน้า หลังรอให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาร์มี
ความชัดเจน ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้เวลาอีกราว 1 ปี ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งทางตะวันตกของไทยใกล้กับจ.กาญจนบุรี
และแม้จะใกล้กับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในเมียนมาร์ แต่เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค่าที่มีสินค้าที่หลากหลาย
"เราได้คุยกับทางพม่าแล้ว เรามีพื้นที่ข้ามชายแดนพม่าจากตรงเมืองกาญจน์ แต่ต้องรอรัฐบาลใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับ
เรื่องเศรษฐกิจพิเศษของพม่า ถ้าตรงนี้เรียบร้อยแล้ว สัญญาสงบศึกเรียบร้อยก็อาจจะพัฒนาได้ ก็น่าจะใช้เวลาค่อนปีถึงปีหนึ่ง...สินค้า
เป็นคนละกลุ่ม ยกตัวอย่าง เช่น มาบตาพุด คือทวาย อันนี้คืออมตะนคร อมตะนครแข่งมาบตาพุดหรือไม่ ก็ไม่แข่งกัน ทำคนละ
product"นายวิกรม กล่าว
นายวิกรม กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มอมตะมีพื้นที่ในเมืองทิกิ ของเมียนมาร์ จำนวนหลายพันไร่ ที่พร้อมจะพัฒนาเป็นนิคม
อุตสาหกรรมแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัท นอกเหนือจากที่มีอยู่ในไทยและเวียดนาม โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ติดชายแดนไทย-เมียนมาร์ ใกล้กับ
พื้นที่จ.กาญจนบุรี ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 170-180 กิโลเมตร ซึ่งจะนับว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศที่ใกล้กับ
กรุงเทพมหานครมากที่สุด
สำหรับการจะเข้าไปพัฒนาพื้นที่นิคมฯในเมียนมาร์ เนื่องจากกลุ่มอมตะมองเห็นโอกาสของการลงทุนเพื่อรองรับลูกค้าที่ต้อง
การขยายตลาดไปทางอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา หรือสหภาพยุโรป(อียู) ก็สามารถใช้เมียนมาร์เป็นฐานการผลิตได้ ขณะเดียว
กันเมียนมาร์ยังมีค่าแรงงาน วัตถุดิบ และทรัพยากรธรรมชาติที่พร้อมจะรองรับการกระแสการลงทุนได้ในอนาคต
ขณะที่การลงทุนในเวียดนามนั้น กลุ่มอมตะยังคงมีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่องหลังจากได้เข้าไปลงทุนพัฒนาพื้นที่นิคมฯมาเป็น
เวลา 20 ปีแล้ว โดยเวียดนามอยู่ในพื้นที่ใกล้กับตลาดทางด้านตะวันออกไกล ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน อเมริกา ประกอบกับ
เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับไทยและเมียนมาร์ หลังล่าสุดเวียดนามได้ลงนามได้เข้าร่วม
ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership:TPP) ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ รวมถึงยัง
ได้ลงนามข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) กับอียู
"อียูกับสหรัฐฯ รวมกันเข้ามามีสัดส่วนของจีดีพีของทั้งโลกกว่า 55% ครึ่งหนึ่งของตลาดโลก ฉะนั้น คือความต่างและความได้
เปรียบที่พม่าไม่มี แต่ไม่ใช่ว่าอนาคตพม่าจะไม่ได้ แต่ไม่ว่าวันนี้หรืออนาคตพวกนี้มีมากกว่าไทย...นอกจากราคาถูกเรื่อง FTA ภาษีนำ
เข้าเขาก็จะน้อยด้วย ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ตลาดในอเมริกาหรือยุโรปมีสินค้าเวียดนามวางขายมากกว่าไทย คือสิ่งที่น่าสนใจที่อมตะจะ
ต้องใช้ความได้เปรียบตรงนี้มาต่อยอดสิ่งที่อมตะทำคือนิคมอุตสาหกรรม"นายวิกรม กล่าว
นายวิกรม กล่าวอีกว่า การขยายลงทุนในเวียดนามของกลุ่มอมตะในระยะต่อไปเชื่อว่าจะใหญ่กว่าในอดีตที่ผ่านมากกว่า 10
เท่า หลังล่าสุดได้เจรจาเพื่อเข้าพัฒนาพื้นที่นิคมฯเพิ่มเติมในอมตะ ซิตี้ ลองถั่นทางตอนใต้ของเวียดนาม และอมตะ ซิตี้ ฮาลอง ทาง
ตอนเหนือของเวียดนาม ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ที่จะพัฒนาเพิ่มเป็นกว่า 6.5 พันเฮกตาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จากราว 550 เฮกตาร์ที่อยู่
ในอมตะ ซิตี้ เบียนหัวในปัจจุบัน
ปัจจุบัน AMATA มีนิคมอุตสาหกรรมในไทย 2 แห่ง ได้แก่ อมตะนคร ในจ.ชลบุรี และอมตะซิตี้ ในจ.ระยอง ขณะที่มีนิคม
อุตสาหกรรม 1 แห่งในเวียดนามภายใต้ชื่อ อมตะ ซิตี้ เบียนหัว และจะพัฒนาแห่งที่สองภายใต้ชื่อ อมตะ ซิตี้ ลองถั่น ในปีหน้า ส่วน
การพัฒนานิคมฯแห่งที่สามภายใต้ชื่อ อมตะ ซิตี้ ฮาลอง จะมีขึ้นในระยะต่อไป