"แพ้ชนะวัดกันใน 2 ปีข้างหน้า คนที่ได้คลื่น 900MHz มีโอกาส เพราะเป็นครั้งแรกที่นำคลื่นที่มีการใช้งานออกมาประมูล ก่อนหน้านั้น นำคลื่น 2100 MHz ซึ่งเป็นคลื่นเปล่า คลื่น 1800MHz ก็เหลือลูกค้าไม่ไม่เท่าไร แต่คลื่น 900 MHz คนส่วนใหญ่ยังอยู่เหมือนเดิม"นายนพปฏล กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์
สำหรับเงินลงทุนของ TRUE ที่จะลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาทที่จะลงทุนโครงข่ายในช่วง 3 ปีนี้ วงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท ค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz จำนวน 76,298 ล้านบาท และ ยังเหลือเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz อีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท นายนพปฎล กล่าวว่า ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับ TRUE โดยการลงทุนโครงข่าย ได้ใช้ vender เดียวกับไชน่าโมบายซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ TRUE จึงได้รับดีลซื้ออุปกรณ์ในราคาเดียวกับไชน่าโบบาย และได้ระยะเวลาชำระเงินที่ดีโดยในช่วง 2-3 ปีแรกไม่ต้องจ่าย
ขณะเดียวกันในการจ่ายเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHZ ในช่วง 3 ปีแรก จ่ายคงที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีกกว่า 6 พันล้านบาทจ่ายในปีที่ 4 ซึ่งถืงตอนนั้น TRUE คาดว่าจะสามารถหาเงินทุนมาได้ทั้งจากลูกค้าใหม่ รวมทั้งลูกค้า 2G บนคลื่น 900 MHz ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ปีละ 2.4 หมื่นล้านบาท
ประกอบกับ TRUE จะลงทุนขยายโครงข่าย 4G เข้าไปทุกตำบลทั่งหมด 7,255 ตำบลทั่วประเทศ จะทำให้การให้บริการ 4G ของ TRUE มีความเร็วที่สุด รวมทั้ง 3G ก็มีความเร็วเช่นกัน นอกจากนี้ได้ 2G มาเสริมจุดแข็งที่ขาดหายไปก่อนหน้า
ปัจจุบัน บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในกลุ่ม TRUE ปัจจุบันบริษัทฯ มีคลื่นรวมทั้งสิ้น 55MHz แบ่งเป็น คลื่นความถี่ 850MHz จำนวน 15MHz (เช่าจาก CAT สิ้นสุดปี 2568) , 900MHz จำนวน 10MHz (สิ้นสุดใบอนุญาตปี 2573) ,1800MHz จำนวน 15MHz (สิ้นสุดใบอนุญาตปี 2576) และคลื่น 2100MHz จำนวน 15MHz (สิ้นสุดใบอนุญาตปี 2570)