แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยใด ๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถมาจ่ายเงินได้ ก็จะต้องรับผิดชอบด้วยการถูกปรับตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่มีการผ่อนผัน และทาง กทค.จะนำใบอนุญาตที่มีปัญหาดังกล่าวมาเปิดประมูลใหม่
ทั้งนี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการค่ายโทรมือถือทั้ง 2 รายก็ได้มีการติดต่อเพื่อขอคำปรึกษา ในการนำเงินมาจ่ายแล้ว และยังยืนยันจะจ่ายเหมือนเดิม ขณะที่บางรายก็แสดงเจตจำนงว่าต้องการชำระค่าใบอนุญาตทั้งจำนวน คาดว่าภายในเดือนก.พ.59 จะมีผู้มาชำระเงินได้จำนวน 1 รายก่อน
"เขายืนยันจะจ่ายเงินตลอดระยะเวลา โดยกระแสข่าวที่ออกมาก็ไม่รู้มาจากไหน ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นได้ยากที่ทุกคนไปคาดหวังอย่างนั้น วอนอย่าเพิ่งมโนกันไปเอง"นายฐากร กล่าว
นายฐากร กล่าวว่า เป็นไปได้ยากที่จะไม่นำเงินมาชำระ เนื่องจากเหตุผลต่างๆ นอกจากจะต้องรับผิดชอบในส่วนต่างที่เกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตเดิมที่เป็นผู้ประกอบกิจการกับ กสทช.อยู่ ซึ่งเงื่อนไขที่ได้บังคับไว้ทั้งหมด ผู้ประกอบการยังมีสิทธินำเงินมาชำระได้ถึงวันที่ 21 มี.ค.59 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั้ง 2 รายได้มาติดต่อเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินในขั้นตอนต่อไปของ 4G ก็เป็นส่วนที่ยืนยันว่าจะมีการจ่ายเงินค่าประมูลอย่างแน่นอน"
ในกรณี่ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถนำเงินมาจ่ายตามระยะเวลา การกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้รัฐเสียหาย โดยเงินที่ได้จากการประมูลที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องไม่สูญหาย เนื่องจากได้นับเป็นผลประโยชน์ของรัฐไปเรียบร้อยแล้ว
ตามหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในข้อ 4 ระบุว่าผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ ระยะเวลา วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศฯ อย่างเคร่งครัด และข้อ 5 กรณีที่มีการกระทำผิด หรือละเว้นการกระทำ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามหนังสือยินยอมฉบับนี้ คณะกรรมการสงวนสิทธิในการพิจารณาตัดสิทธิ์การเข้าร่วมการประมูล ริบหลักประกันในการประมูล หรือให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz โดยการประมูล ตลอดจนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากต้องจัดการประมูลคลื่นความถี่ใหม่เต็มจำนวน
นายฐากร กล่าวว่า กทค.ลงมติเป็นหลักการทั่วไปแล้วว่า 1. หากเกิดเหตุสุดวิสัย มีผู้ประมูลรายใดรายหนึ่งไม่นำเงินมาชำระ ราคาที่ประมูลเริ่มต้นจะต้องกำหนดเท่ากับราคาที่ผู้นั้นไม่นำเงินมาชำระ หรือราคาสุดท้ายที่ชนะการประมูล 2. บริษัทฯรายใดที่นำเงินมาชำระแล้ว มีสิทธิที่จะเข้าประมูลในครั้งนี้ได้อีก และ 3. กรณีที่เกิดการประมูลใหม่แล้วไม่มีผู้สนใจประมูลใบอนุญาตดังกล่าว ก็จะชะลอการประมูลออกไปไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่มีแผนปรับราคาประมูลลง
"จากกระแสข่าวที่ออกไป ทั้ง 2 รายที่ชนะการประมูลจะนำเงินมาชำระหรือไม่นำมาชำระ เรียนยืนยันว่าเป็นไปได้ยากที่จะไม่นำเงินมาชำระ เนื่องจากเหตุผลต่างๆ นอกจากจะต้องรับผิดชอบในส่วนต่างที่เกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตเดิมที่เป็นผู้ประกอบกิจการกับกสทช.อยู่ ซึ่งเงื่อนไขที่ได้บังคับไว้ทั้งหมด ผู้ประกอบการยังมีสิทธินำเงินมาชำระได้ถึงวันที่ 21 มี.ค.59 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั้ง 2 รายได้มาติดต่อเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินในขั้นตอนต่อไปของ 4G ก็เป็นส่วนที่ยืนยันว่าจะมีการจ่ายเงินค่าประมูลอย่างแน่นอน"
ส่วนการดูแลผู้บริโภค ปัจจุบันก็มีมาตรการเยียวยา และมีการให้บริการบนย่าน 1800 MHz ซึ่งหากมีผู้นำเงินมาชำระ มาตรการเยี่ยวยาจะต้องสิ้นสุดลงทันที ตามประกาศฯ