ทั้งนี้ ดีแทคได้ขยายและเพิ่มคุณภาพโครงข่ายให้บริการ Super 4G ที่มีความเร็วมากขึ้น 3 เท่า บนคลื่น 1800MHz ด้วยการขยายแบนด์วิธจากเดิม 5 MHz เป็น 15 MHz โดยเตรียมเปิดขยายแบนด์วิธบนคลื่นความถี่ 1800 MHz เพิ่มเป็น 20 MHz ทำให้มีแบนด์วิธที่กว้างที่สุด ซึ่งจะให้บริการร่วมกับ 4G บนคลื่น 2100 MHz อีก 5 MHz
สำหรับบริการดีแทค 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz จะขยายพื้นที่ให้บริการคลอบคลุม 77 จังหวัดในไตรมาส 2/59 และจะครอบคลุมกว้างไกลถึงการใช้งานในทุกอำเภอครบ 878 อำเภอในไตรมาส 3/59 โดยประเดิมแคมเปญ Super 4G เริ่มต้นที่ 299 บาท และ 499 บาทใช้ได้ 4G/3G ความเร็ว 10 GB
ปัจจุบัน ดีแทคมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมอยู่ที่ 25.3 ล้านราย โดยจำนวนนี้มีลูกค้า 4G จำนวน 2.3 ล้านราย
นายลาร์ส กล่าวว่า ในปี 59 บริษัทฯวางงบลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายโครงข่าย 4G เป็นหลัก โดยคาดจะขยายสถานีฐานเพิ่มเป็น 6 พันสถานีฐาน ภายในครึ่งแรกของปีนี้ จากเดิมมีอยู่กว่า 2 พันสถานีฐาน เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการกว่า 70 จังหวัด และเพิ่มฐานลูกค้าที่คาดสิ้นปีนี้จะมีลูกค้า 4G เพิ่มขึ้นเป็น 4.5 ล้านราย ซึ่งจะมาจากลูกค้า 3G ที่ย้ายเข้ามาและลูกค้าใหม่
ขณะที่เร็วๆ นี้ DTAC เตรียมออกแคมเปญเสนอให้ลูกค้าในระบบเติมเงิน ได้เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ 2G ให้เป็น 4G/3G โดยวางงบลงทุน 2 พันล้านบาท ที่จะใช้ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า
"ภายในกลางปีนี้ เราจะนำคลื่น 4G ที่มีความเร็วสูงสุด 15 MHz บนคลื่น 1800 MHz ขยายไปให้ครอบคลุมทุกจังหวัดกว่า 70 จังหวัด และหลังจากลางปีเป็นต้นไปการใช้บริการ 4G บนคลื่น 2100 MHz เราก็จะขยายไปทั่วทุกอำเภอ เพื่อให้ลูกค้าทุกๆท่านที่ใช้เครือข่ายดีแทค สามารถใช้งานโครงข่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ด้านเงินที่จะนำลมาลงทุนเรามีเงินมากพอที่จะครอบคลุมการลงทุนของเราทั้งหมด"นายลาร์ส กล่าว
การลงทุนดังกล่าว นอกจากจะส่งผลดีต่อลูกค้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้รายได้น่าจะเติบโตมากกว่าปีก่อน จากปีก่อนมีรายได้อยู่ที่ 8.8 หมื่นล้านบาท จากที่ยังสามารถแข่งขันได้ในตลาด และครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้อยู่
ขณะเดียวกัน บริษัทฯก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจ่ายปันผล โดยมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ากว่า 50% ของกำไรสุทธิของบริษัท ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต โดยมีเป้าหมายจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลทุกครึ่งปีจะมีผลตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นไป จากเดิมมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 80% ของกำไรสุทธิของบริษัท ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต โดยบริษัทมีเป้าหมายจะจ่ายเงินปันผลเป็นรายไตรมาส ซึ่งปี 58 บริษัทฯมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.8 พันล้านบาท เนื่องด้วยเป็นไปตามการลงทุนที่มากขึ้น เพื่อให้แข่งขันในอุตสาหกรรมได้ และเพื่อเตรียมตัวในการเข้าประมูลคลื่นความถี่ในรอบต่อๆไป ทั้งคลื่นความถี่ 850 MHz,700 MHz,2600 MHz เป็นต้น ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกสทช.
"การ Investment ปีนี้จะส่งผลดีต่อบริษัทในภาพรวม ซึ่งเราจะไม่ยอมเสียมาร์เกตแชร์ให้กับคู่แข่ง แต่จะทำทุกอย่างให้ชนะให้ได้ โดยเงินลงทุน 7 หมื่นล้านบาท จะทำให้การเติบโตในด้านของรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงฐานลูกค้าด้วย จากที่เราจะลงทุนทั้งโครงข่าย และ Offer ให้กับ" นายลาส์ กล่าว
นายลาร์ส กล่าวว่า หากกสทช.จะมีการจัดประมูลคลื่น 900 MHz อีกครั้งหากมีผู้ที่ชนะประมูลรายใดไม่เข้ามาชาระเงินค่าใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม บริษัทก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลโดยจะมีการคำนึงถึงมูลค่าคลื่น และการแข่งขันในตลาด ซึ่งอยากให้กสทช.ได้พิจารณาราคาตั้งต้นการประมูลอย่างละเอียด ที่มองว่าควรต่ำกว่าราคาที่ชนะการประมูลในครั้งที่แล้ว รวมไปถึงในเรื่องของความโปร่งใสด้วย
ส่วนการเจรจากับบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) เพื่อให้เอไอเอสเช่าใช้เสาสัญญาณทำการโรมมิ่งบริการ 2G ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะได้ข้อสรุปและมีการเซ็นสัญญากันเมื่อไหร่ แต่บริษัทฯก็มีความยินดี หรือเปิดกว้างให้โอเปอร์เรเตอร์รายอื่น เข้ามาเจรจาได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กถ๕กค้า 2G