สำหรับโครงสร้างการจัดการโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่นั้น คาดว่าจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรงงานเดิมที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีโครงสร้างธุรกิจประกอบด้วย โรงงานผลิตน้ำตาลทรายและนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลไปต่อยอดสู่กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล โรงงานเอทานอล โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่ทำให้ BRR สามารถสร้างรายได้สูงสุดจากการดำเนินธุรกิจ และยังนำองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูกและวิจัยพันธุ์อ้อยมาช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งของโรงงานแห่งใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพาะปลูกและพัฒนาผลผลิตอ้อยให้มีคุณภาพสูงสุด
ทั้งนี้ บริษัทฯ ประเมินว่าจะสามารถก่อสร้างโรงงานและสามารถเริ่มหีบอ้อยเข้าสู่โรงงานได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ที่กำหนดให้โรงงานแห่งใหม่ต้องเปิดรับหีบอ้อยเข้าสู่โรงงานภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
"การได้รับใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ของ BRR ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในอนาคต และรองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายของเอเชียซึ่งเป็นทวีปที่มีอัตราการบริโภคน้ำตาลทรายมากที่สุดและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ จึงมีผลให้ BRR สามารถเพิ่มการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจของ BRR ได้ดียิ่งขึ้น"นายอนันต์ กล่าว
จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลจำนวน 2 โรงงาน กำลังการผลิตรวม 19.8 MW และโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กำลังการผลิต 30,000 ตัน ขณะเดียวกัน BRR ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลแห่งที่ 3 กำลังการผลิต 9 MW รวมถึงอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลกำลังการผลิตขนาด 150,000 ลิตรต่อวัน