สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (8 - 12 กุมภาพันธ์ 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ ) มีมูลค่ารวม 449,655.58 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 89,931.12 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 6% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 67% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 301,934 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 112,649 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 12,922 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB206A (อายุ 4.4 ปี) LB196A (อายุ 3.3 ปี) และ LB21DA (อายุ 5.9 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 35,682 ล้านบาท 19,619 ล้านบาท และ 12,984 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รุ่น BAY164A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,786 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) รุ่น CENTEL163B (A) มูลค่าการซื้อขาย 602 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) รุ่น CPF163A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 530 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงค่อนข้างมากในเกือบทุกช่วงอายุตราสาร โดยเฉพาะตราสารรุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลงถึง 24 bps. จาก 2.30% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 2.06% โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ จากการที่ตลาดรับรู้ Sentiment ในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือน ม.ค. ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นเพียง 151,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 200,000 ตำแหน่ง โดยนักลงทุนเริ่มเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยที่ไม่ใช่สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ มีผลทำให้ในวันอังคารที่ 9 ก.พ. ดัชนี Nikkei ปรับลดลง 918.86 จุด อยู่ที่ 16,085.44 จุด (ลดลง 5.40% จากวันก่อนหน้า) และมีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวปรับลดลงติดลบแตะระดับต่ำสุดที่ -0.08% ส่วนค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 115.41 เยน/ ดอลล่าร์สหรัฐฯ (แข็งค่าขึ้น 0.43 เยน หรือประมาณ 0.37%) รวมถึงในวันพฤหัสฯ ที่ 11 ก.พ. นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ออกมาส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ในเดือน มี.ค. จากการที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ นักลงทุนจึงเริ่มกระจายการลงทุนกลับเข้าสู่กลุ่มประเทศ Emerging Market อีกครั้ง ทั้งนี้นักลงทุนติดตามรายงาน GDP ไตรมาส 4/2558 ของญี่ปุ่นซึ่งจะรายงานในวันจันทร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา (08 ก.พ. - 12 ก.พ. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 13,987 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 17,311 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 3,324 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (8 - 12 ก.พ. 59) (1 - 5 ก.พ. 59) (%) (1 ม.ค. - 12 ก.พ. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 449,655.58 480,051.60 -6.33% 2,796,840.84 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 89,931.12 96,010.32 -6.33% 93,228.03 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 111.52 110.08 1.31% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 108.41 108.05 0.33% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (12 ก.พ. 59) 1.39 1.41 1.41 1.52 1.78 2.06 2.55 3.35 สัปดาห์ก่อนหน้า (5 ก.พ. 59) 1.39 1.44 1.45 1.57 1.93 2.3 2.72 3.45 เปลี่ยนแปลง (basis point) 0 -3 -4 -5 -15 -24 -17 -10