สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (14 - 18 มีนาคม 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ ) มีมูลค่ารวม 572,482.14 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 114,496.43 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 1% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 67% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 384,373 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 132,359 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 14,900 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB176A (อายุ 1.2 ปี) LB196A (อายุ 3.2 ปี) และ LB206A (อายุ 4.3 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 23,421 ล้านบาท 21,390 ล้านบาท และ 21,249 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) รุ่น CPF185A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 1,148 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) รุ่น LH169A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 1,137 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) รุ่น QH174A (A-) มูลค่าการซื้อขาย 647 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงค่อนข้างมากในทุกช่วงอายุตราสาร โดยตราสารอายุ 10 ปี ปรับลดลงถึง 16 bps. จาก1.97% ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 1.81% โดยได้รับผลกระทบจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอ้างอิงอายุ 15 ปี (LB296A) จำนวน 10,000 ล้านบาทในวันพุธ และพันธบัตรธปท. อายุ 3 ปี (BOT193A) จำนวน 40,000 ล้านบาทในวันพฤหัสฯ ซึ่งมีความต้องการสูงกว่าวงเงินประมูล 2.53 เท่าและ 4.26 เท่า ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นความต้องการตราสารหนี้ระยะยาวยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้านปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งมีมติ 7:2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้กับธนาคารกลางไว้ที่ -0.1% และคงขนาด QE ไว้ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยนต่อปีตามเดิม ตามด้วยการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ซึ่งได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25-0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และได้ลดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโนยบาย 0.25% จำนวน 4 ครั้ง เหลือเพียง 2 ครั้ง ด้านราคาน้ำมัน WTI ในช่วงท้ายสัปดาห์กลับมายืนเหนือระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้อีกครั้งหลังประเทศในกลุ่ม OPEC และผู้ผลิตนอกกลุ่มจะจัดการประชุมที่กาตาร์ในวันที่ 17 เม.ย. ทั้งนี้ตลาดติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 มี.ค. โดยตลาดคาดการณ์ว่า กนง. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.50% ตามเดิม
สัปดาห์ที่ผ่านมา (14 มี.ค. - 18 มี.ค. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 16,013 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 14,277 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,736 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (14 - 18 มี.ค. 59) (7 - 11 มี.ค. 59) (%) (1 ม.ค. - 18 มี.ค. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 572,482.14 568,946.59 0.62% 5,299,324.36 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 114,496.43 113,789.32 0.62% 98,135.64 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 114.53 113.63 0.79% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 108.84 108.63 0.19% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (18 มี.ค. 59) 1.37 1.36 1.36 1.39 1.53 1.81 2.17 2.85 สัปดาห์ก่อนหน้า (11 มี.ค. 59) 1.39 1.4 1.4 1.5 1.61 1.97 2.3 2.94 เปลี่ยนแปลง (basis point) -2 -4 -4 -11 -8 -16 -13 -9