สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (28 มีนาคม - 1 เมษายน 2559) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 570,035.61 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 114,007.12 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 41% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 69% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 395,176 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 105,861 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 39,018 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19% และ 7% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB366A (อายุ 20.2 ปี) LB206A (อายุ 4.2 ปี) และ LB196A (อายุ 3.2 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 18,249 ล้านบาท 15,413 ล้านบาท และ 12,150 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รุ่น CPALL243B (A+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 5,432 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รุ่น CPALL213B (A+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 4,970 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รุ่น CPALL248B (A+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 3,851 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในเกือบทุกช่วงอายุตราสาร โดยเฉพาะตราสารรุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลง 21 bps. จาก 1.84% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 1.63% และตราสารรุ่นอายุ 30 ปี ปรับลดลง 26 bps. จาก 2.82% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 2.56% ซึ่งในตลาดยังคงมีความต้องการตราสารระยะยาวอยู่ค่อนข้างมาก พร้อมกับมีความกังวลถึงจำนวน Supply ในตลาด โดยพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอ้างอิงอายุ 30 ปีจะมีการประมูลในวันอังคารหน้าจำนวน 10,000 ล้านบาท และภายใน 2 เดือนข้างหน้าจะมีการประมูลตราสารระยะยาว 30 ปีขึ้นไปอีกเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือ รุ่นอ้างอิง 50 ปี จำนวน 10,000 ล้านบาท และรุ่นอ้างอิง 30 ปี อีกจำนวน 10,000 ล้านบาท ด้านปัจจัยต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ได้แก่การที่นางเจนเน็ต เยนเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ จะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed น่าจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC ในรอบวันที่ 26-27 เม.ย. นี้ ส่งผลต่อกระแสเงินไหลเข้ามายังตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงรายงานตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ประจำเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ตลาดคิดตามรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือน ก.พ. ของสหภาพยุโรปซึ่งจะรายงานในวันจันทร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา (28 มี.ค. - 01 เม.ย. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 25,241 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 19,802 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 5,439 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (28 มี.ค. - 1 เม.ย. 59) (21 - 25 มี.ค. 59) (%) (1 ม.ค. - 1 เม.ย. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 570,035.61 403,074.60 41.42% 6,272,434.57 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 114,007.12 80,614.92 41.42% 98,006.79 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 115.77 114.54 1.07% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 108.91 108.85 0.06% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (1 เม.ย. 59) 1.37 1.38 1.38 1.37 1.49 1.63 2.07 2.56 สัปดาห์ก่อนหน้า (25 มี.ค. 59) 1.36 1.37 1.37 1.39 1.53 1.84 2.19 2.82 เปลี่ยนแปลง (basis point) 1 1 1 -2 -4 -21 -12 -26