สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (4 - 8 เมษายน 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 545,470.53 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 136,367.63 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 4% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 68% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 369,311 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 126,073 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 5,845 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% และ 1% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB206A (อายุ 4.2 ปี) LB196A (อายุ 3.2 ปี) และ LB446A (อายุ 28.2 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 28,419 ล้านบาท 23,354 ล้านบาท และ 17,899 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด รุ่น DTN207A (AA+) มูลค่าการซื้อขาย 416 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT164A (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 341 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) รุ่น CPF235A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 326 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในเกือบทุกช่วงอายุตราสาร โดยเฉพาะตราสารรุ่นอายุ 30 ปี ปรับลดลง 16 bps. จาก 2.56% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 2.40% โดยเป็นผลจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark 30 ปี (LB446A) ในวันอังคารที่ผ่านมา จำนวน 10,000 ล้านบาท ที่อัตราผลตอบแทน 2.1682% แม้จะมีความต้องการมากกว่าวงเงินประมูลเพียง 1.4 เท่า แต่ช่วงห่างของอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้ห่างกันมากถึง 15 bps. (2.08-2.23%) แสดงถึงราคาของความต้องการอย่างมากในตราสารระยะยาวของผู้เข้าร่วมประมูล ด้านปัจจัยต่างประเทศ สหรัฐฯ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 215,000 ราย และดัชนีภาคการผลิต ISM ประจำเดือน มี.ค. อยู่ที่ระดับ 51.8% สูงกว่าในเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.5% อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่าพร้อมจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมหากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นการส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป ทั้งนี้ตลาดติดตามรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือน มี.ค. ของจีน ซึ่งจะรายงานในวันจันทร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา (04 เม.ย. - 08 เม.ย. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 7,619 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 4,097 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 2,294 ล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ที่หมดอายุ (Expired) 14,010 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (4 - 8 เม.ย. 59) (28 มี.ค. - 1 เม.ย. 59) (%) (1 ม.ค. - 8 เม.ย. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 545,470.53 570,035.61 -4.31% 6,817,905.11 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 136,367.63 114,007.12 19.61% 100,263.31 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 116.51 115.77 0.64% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 108.93 108.91 0.02% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (8 เม.ย. 59) 1.36 1.36 1.36 1.36 1.48 1.66 2.05 2.4 สัปดาห์ก่อนหน้า (1 เม.ย. 59) 1.37 1.38 1.38 1.37 1.49 1.63 2.07 2.56 เปลี่ยนแปลง (basis point) -1 -2 -2 -1 -1 3 -2 -16