นายสุวัฒน์ อินมุตโต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟอร์เมติกซ์ พลัส จำกัด (บริษัทลูกของ บมจ.ยูไนเต็ดเพาเวอร์ ออฟ เอเชีย หรือ UPA ถือหุ้น 100%) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารผ่าน Mobile Application ตามบันทึกความร่วมมือ MOU โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ หน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
นอกจากนี้ “กสท โทรคมนาคม"จะเป็นผู้ให้บริการระบบสื่อสารกลางผ่าน Mobile Platform ในงานทำประชามติของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มุ่งเน้นการสื่อสารที่มีความปลอดภัย และความมั่งคงทางข้อมูลข่าวสารของประเทศ เป็นสำคัญ เนื่องจาก Mozer เป็น Mobile Application Platform ที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยทั้งหมดที่เริ่มต้นตั้งแต่การศึกษาวิจัย ออกแบบและพัฒนาระบบสื่อสาร ซึ่งเดิมจะติดต่อประสานงานโดยใช้ free application ที่ไม่ได้รองรับการบริหารจัดการตามโครงสร้างขององค์กร ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ข้อมูลสำคัญ หรือข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรรั่วไหล และลำบากในการ บริหารจัดการ และรวบรวมจัดเก็บข้อมูล สำหรับ ภารกิจขององค์กร
Mozer ได้เข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้และสามารถทดแทนการสื่อสารแบบเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติที่ครบถ้วนเช่น การตั้งค่ากำหนด กลุ่มการสื่อสารที่เป็นระบบบริหารจัดการสำหรับองค์กร ความสามารถในสื่อสารแบบส่งข้อความ ข้อมูลมัลติมีเดีย ภาพ วีดีโอ สติ๊กเกอร์ การถ่ายทอดสด ใช้สำหรับการแถลงนโยบาย สื่อสารผ่าน Smartphone ระบบโทรฟรีผ่านอินเตอร์เน็ต และความสามารถเด่นที่สื่อสารได้แบบวิทยุสื่อสารทั่วประเทศ และเชื่อมต่อกับระบบวิทยุสื่อสารเดิมเครือข่าย VHF , CB ได้ ที่ผ่านมา Mozer ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานต่างๆ อาทิ เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ,สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ DTI และศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพไทย, กรมสรรพสามิต และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เป็นต้น
“ที่ผ่านมา ปอท. ได้นำระบบ Mozer มาเป็นระบบสื่อสารหลักและถ่ายทอดสดผ่าน Smartphone เข้าตรวจค้นจับกุมทั่วประเทศ 17 แห่ง เข้าศูนย์ควบคุมกลางในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน ปอท. กวาดล้างเว็บไซต์พนันออนไลน์ ตรงกับ หลักการ ระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System: C2) ติดตามผลการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านเครือข่ายติดต่อสื่อสารข้อมูล (Data Network) ได้อย่างรวดเร็ว (Near Real Time) และดำรงอยู่เป็นหลักฐานของข้อมูล เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถทราบภาพรวมเหตุการณ์ (Big Picture) และการตระหนักรู้ (Total Awareness: TA) ซึ่งหากมีระบบเครือข่ายที่ดีจะทำให้การปฏิบัติการทางทหารกลายเป็นการปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการในการปฏิบัติการรูปแบบใหม่ (Revolutions in Military Affairs: RMA) ได้ สามารถขยายผลไปยังหน่วยงานความมั่นคงและศูนย์ปฏิบัติการต่างๆ "
ขณะนี้มีงานในมือ ที่เซ็นสัญญาแล้วมูลค่า 56 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 300-500 ล้านบาท โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ผ่านช่องทาง System Integrator ( SI ) ที่ แข็งแรงในแต่ละประเทศในรูปแบบ On premise และในรูปแบบบริการผ่าน Operator หรือ Software as a service (SAAS) และสำหรับปีต่อๆ ไปคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง เพราะทีมผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งด้วยโปรดักส์ที่มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม จึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีมาก ซึ่งผลประกอบการทั้งหมดของ “อินฟอร์เมติกซ์ พลัส" จะถูก Consolidate ไปยังบริษัทแม่ UPA ทั้งหมด ทั้งที่เป็นรายได้และกำไรสุทธิเพราะถือหุ้นอยู่เต็มจำนวนทั้ง 100% ซึ่งเมื่อผลประกอบการดี ก็จะส่งผลบวกกับ UPA และผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์