นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับเพิ่มงบการลงทุนช่วง 5 ปี (งวดปี 59-63) เป็น 1.7 แสนล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 1.4 แสนล้านบาท เนื่องจากได้เพิ่มงบลงทุนในโครงการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะ 3 มูลค่าลงทุน 2.7 หมื่นล้านบาท
สำหรับโครงการตามแผนงานเดิมเป็นงบลงทุนโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 จำนวน 1.1 แสนล้านบาท และอีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท เป็นงบลงทุนโครงการขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานภูมิภาค ได้แก่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานเชียงราย
ขณะที่รายได้จากธุรกิจการบิน (AERO) ในงวดปีนี้(ต.ค.58-ก.ย.59) คาดว่าเติบโตกว่า 10% จากการเติบโตของผู้โดยสารงวดปีนี้ 6-8% ที่ได้รับผลดีจากธุรกิจท่องเที่ยว
นายนิตินัย กล่าวว่า การขยายรายได้จากธุรกิจทึ่ไม่ใช่ธุรกิจการบิน (Non-Aero) บริษัทได้หารือกับกรมธนารักษ์ที่เป็นเจ้าของที่ดิน และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ในฐานะหน่วยงานดูแล AOT เพื่อเคลียร์สิทธิการใช้ที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมาติดเงื่อนไขหลายอย่าง คาดว่าจะได้ข้อสรุปหรือความชัดเจนปลายเดือน พ.ค.-ต้นเดือน มิ.ย.นี้ โดยจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ในที่ดินซึ่ง AOT มีอยู่ประมาณ 3,000-4,000 ไร่ โดยประมาณ 1.000 ไร่อยู่ในท่าอากาศยานเชียงรายซึ่งนำมาพัฒนาได้ยาก
อย่างไรก็ดี บริษัทได้จ้างที่ปรึกษาให้ศึกษาการใช้ที่ดินเพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ และให้เทียบเคียงกับการใช้ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานในต่างประเทศที่ระบุว่าจะต้องมีในสนามบิน อาทิ โรงแรม โดยเทียบสัดส่วนผู้โดยสาร 10 ล้านคนควรมีโรงแรมขนาด 200 หัองไว้รองรับ ร้านค้าปลีก หากสามารถดำเนินการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ก็จะช่วยขยายรายได้ Non-Aero ได้มากขึ้น
"ถ้าเคลียร์ได้เราก็จะปลดล็อค concept การใช้พื้นที่เขิงพาณิชย์ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีข้อจำกัด เข่น อาจจะติดเรื่องความสูง ถ้าปลดล็อกได้ก็นับหนึ่งจากที่เคยอยู่ที่ศูนย์"นายนิตินัย กล่าว
ปัจจุบัน AOT มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Aero ราว 60% และ Non-Aero 40%
สำหรับโครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ได้เปิดขายซองประกวดราคาแล้ว 3 สัญญา เหลือ 4 สัญญาคาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้
ทั้งนี้ งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 2 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่าราว 2.7 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการนำผลศึกษาเสรอต่อกระทรวงคมนาคม และเตรียมจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)โดยจะใช้งบปี 59 เพิ่มเติม คาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.-ก.ย.ปีนี้ และเริ่มประมูลต้นปี 61
ส่วนทางวิ่งอากาศยาน (Runway) แห่งที่ 3 มูลค่าลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาทนั้น ราว 1 หมื่นล้านบาทเป็นค่าก่อสร้าง และอีก 1 หมื่นล้านบาทเป็นค่าชดเชยให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง ซึ่งอยู่ระหว่างนำเสนอจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) หากปลายปีนี้ผ่านคาดว่าจะใช้เวลา 9 เดือนหรือประมาณปลายปี 60 เปิดประมูลได้
ขณะที่การใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้มาตรา 44 นั้น จะช่วยให้โครงการเดินหน้าเร็วขึ้นประมาณ 4เดือน แต่ก็คงต้องรอให้ EHIA หรือ EIA ผ่านจึงจะสามารถลงนามจ้างงานกับเอกชนได้
ด้านนาวาอากาศโทฤทธิรวค์ ก้อนคดี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ กล่าวว่า ได้รับการติดต่อจากสายการบินของจีน 2 แห่งที่สนใจบินตรงเข้ามาที่สนามบินหาดใหญ่ คือ สายการบินลักกี้แอร์ไลน์จากคุนหมิงที่จะเข้ามาบินเป็นเส้นทางประจำ และสายการบินจากเมืองเฉิงตู จะเข้ามาบินตรงลักษณะเช่าเหมาลำ คาดว่าจะเริ่มทำการบินในปลายปีนี้
ท่าอากาศยานหาดใหญ่คาดว่าในปีนี้จำนวนผู้โดยสารจะเติบโตเป็น 3.90 ล้านคน/ปี จากปีก่อนมีจำนวน 3.58 ล้านคน/ปี โดยนับแต่ปี 55 ที่มีจำนวนผูโดยสาร 2 ล้านคน เห็นได้ว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี เป็นผลจากสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ 7 สายขยายการบริการเส้นทางทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกินขีดความสามารถที่สนามบินรองรับผู้โดยสารทึ่รองรับได้ 2.5 ล้านคน/ปี
ดังนั้น ท่าอากาศยานหาดใหญ่จึงมีแผนขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร ซึ่งแบ่งเป็น2ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน (ปี 58-61) ได้แก่ งานขยายห้องโถงผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ใช้งบราว 39 ล้านบาท, การปรับปรุงห้องโถงปู้โดยสารขาเข้าและปรับปรุงขานชลาจอดรถรับส่งผูโดยสาร, การก่อสร้างอาคารสำนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่แห่งใหม่ ลงทุนราว 270 ล้านบาท เพื่อใข้พื้นที่ปัจจุบันไปขนายอาคารผู้โดยสาร และขยายหลุมจอดอากาศยานจาก 7 หลุมเป็น 9 หลุม เป็นต้น
ระยะที่ 2 (ปี 62-71) เป็นการปรับปรุงพื้นที่อาคารภายในผู้โดยสารและขยายหลุมจอด รวมทั้งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารถึง 10 ล้านคน/ปี ระหว่างนี้ยังอยู่ขั้นเริ่มต้นจึงยังไม่สามารถประเมินมูลค่าเงินนลงทุนได้