สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (25 - 29 เมษายน 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 554,966.66 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 110,993.33 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 13% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 78% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 435,025 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 62,522 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 6,909 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11% และ 1% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB176A (อายุ 1.1 ปี) LB296A (อายุ 13.2 ปี) และ LB25DA (อายุ 9.6 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 11,471 ล้านบาท 10,925 ล้านบาท และ 7,717 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC16OB (A+) มูลค่าการซื้อขาย 608 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC16OA (A+) มูลค่าการซื้อขาย 522 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด รุ่น ICBCTL264A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 468 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในทุกช่วงอายุตราสาร โดยเฉพาะตราสารรุ่นอายุ 15 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 5 bps. จาก 2.16% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 2.21% โดยเป็นผลต่อเนื่องจากการผลการประมูลพันธบัตรอ้างอิงรุ่นอายุ 15 ปี (LB296A) จำนวน 10,000 ล้านบาทเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ด้านปัจจัยในประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือ 3.3% จากเดิมที่ 3.7% โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัว -0.7% สำหรับปัจจัยต่างประเทศ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25-0.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย Fed ได้แถลงว่าจะไม่เร่งรีบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% และคง QE ต่อปีไว้ที่ 80 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ตลาดติดตามรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลข PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ ยุโรป และจีนซึ่งจะรายงานในวันวันที่ 2 พฤษภาคม 2559
สัปดาห์ที่ผ่านมา (25 เม.ย. - 29 เม.ย. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 31,077 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 24,254 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 2,763 ล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ที่หมดอายุ (Expired) 4,060 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (25 - 29 เม.ย. 59) (18 - 22 เม.ย. 59) (%) (1 ม.ค. - 29 เม.ย. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 554,966.66 489,193.32 13.45% 8,017,190.92 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 110,993.33 97,838.66 13.45% 100,214.89 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 115.15 115.35 -0.17% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 108.61 108.67 -0.06% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (29 เม.ย. 59) 1.36 1.38 1.38 1.44 1.56 1.83 2.21 2.55 สัปดาห์ก่อนหน้า (22 เม.ย. 59) 1.35 1.36 1.36 1.41 1.53 1.81 2.16 2.54 เปลี่ยนแปลง (basis point) 1 2 2 3 3 2 5 1