ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม471,544.03 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday June 13, 2016 14:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (6 - 10 มิถุนายน 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 471,544.03 ล้าน บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 94,308.81 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ % ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 67% ของมูลค่าการซื้อขายทั้ง หมด หรือประมาณ 316,057 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 116,114 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 10,939 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% และ 2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB196A (อายุ 3.0 ปี) LB21DA (อายุ 5.5 ปี) และ LB296A (อายุ 13.0 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อ ขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 22,940 ล้านบาท 22,139 ล้านบาท และ 15,853 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท นิติบุคคลเฉพาะกิจ บตท. (8) จำกัด รุ่น MBSE20NA (AA-(sf)) มูลค่าการซื้อขาย 981 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด รุ่น ICBCTL204A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 618 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด รุ่น AWN235A (AA+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 577 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยตราสารอายุ 10 ปี ปรับลดลง 14 bps. จาก 2.24% มาอยู่ที่ 2.10% ซึ่งนักลงทุนต่างชาติรอดูความชัดเจน เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ด้านนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้มีการ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังระบุว่า Fed จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับรายงานตัว เลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับลดลง 3.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 532.5 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาอยู่ที่ 51.6 ดอลลาร์/บาร์เรล ในช่วงเช้าวันพฤหัสฯ ทั้งนี้ตลาดติดตามรายงานผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed.) วันที่ 14 – 15 มิ.ย. ซึ่งตลาดคาดว่าจะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้

สัปดาห์ที่ผ่านมา (06 มิ.ย. - 10 มิ.ย. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 53,801 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 41,814 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 18,737 ล้านบาท และเป็นตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ (Expired) 6,750 ล้านบาท

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                             สัปดาห์นี้            สัปดาห์ก่อนหน้า   เปลี่ยนแปลง            สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                (6 - 10 มิ.ย. 59)  (30 พ.ค. - 3 มิ.ย. 59)         (%)  (1 ม.ค. - 10 มิ.ย. 59)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)       471,544.03             469,570.39       0.42%          10,472,655.16
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                          94,308.81              93,914.08       0.42%              98,798.63
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)               113.68                 112.66       0.91%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index)                 107.68                 107.29       0.36%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (10 มิ.ย. 59)                1.38       1.44    1.46    1.57    1.79      2.1     2.46     2.77
สัปดาห์ก่อนหน้า (3 มิ.ย. 59)            1.43       1.47    1.49     1.7    1.96     2.24     2.58     2.79
เปลี่ยนแปลง (basis point)              -5         -3      -3     -13     -17      -14      -12       -2

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ