โบรกเกอร์ประเมินดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) จะถูกกระทบเชิง Sentiment ระยะสั้น หากผลการลงประชามติของ อังกฤษเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้พบว่าอังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพ ยุโรป (EU) โดยดัชนีมีโอกาสปรับลดลงจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ ความผันผวนของค่าเงิน แต่การที่ต่างชาติมีสัดส่วนการถือ ครองในหุ้นไทยไม่มากนักอาจจะทำให้การปรับลดลงของดัชนีไม่มากนัก ขณะที่หุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากยุโรปอาจได้รับผลกระทบทางลบ จากค่าเงินยูโรและปอนด์ที่จะอ่อนค่า
นายกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า หากอังกฤษลงประชามติออกมาว่าให้ออกจาก EU จะส่งผลกระทบต่อ Sentiment การลงทุนระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ความมั่นใจลดลงในสกุลเงินยูโร และปอนด์ รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยง จะ ทำให้เห็นการลดถือครองสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสกุลเงินยูโร และปอนด์ แล้วมาถือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และเยนแทน
แต่ในระยะกลาง ถึงยาว ต้องติดตามว่าประเทศอังกฤษจะมีการปรับแก้ไขปัญหาอย่างไรต่อไป ซึ่งหากไม่มีการปรับตัว เลย จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศให้ติบลบ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจจะติดลบถึง 7.5%
"เรายังคงเดาเรื่องพวกนี้ได้ยากว่าอังกฤษจะตัดสินใจออกจากกลุ่ม EU หรือไม่ เพราะเราก็ไม่ใช่ประชากรของ อังกฤษ แต่เราดูแล้วคนที่อยู่นอกกลุ่ม EU ส่วนใหญ่เศรษฐกิจโตมาก และโตได้ดีด้วย ซึ่งถ้าออกจริงจะเป็นผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น แต่ในระยะยาวหากมีแนวทางการแก้ไขที่ดี และทุกคนเริ่มนิ่งขึ้น นักลงทุนก็จะเริ่มกลับมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อีกครั้ง เพราะปัจจุบันแม้ว่าประเทศอังกฤษจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกก็ตามแต่ก็ไม่ได้สร้างการเติบโตของโลกได้มากนัก เพราะปัจจุบันประเทศที่เป็นตัวผลักดันการเติบโตของโลกหลักคือ สหรัฐ และจีนมากกว่า"นายกวี กล่าว
นายกวี กล่าวว่า สำหรับผลกระทบกับประเทศไทยนั้น ในระยะสั้นก็อาจจะกระทบต่อค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง แต่อย่างไร ก็ตามดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากปัจจุบันสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติมีเหลืออยู่น้อยมาก เพราะในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาต่างชาติขายหุ้นไทยออกมามาก ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยก็คงจะได้รับผลกระทบไม่มากนักเช่นกัน เพราะปัจจุบันสัดส่วน การส่งออกไปยัง ประเทศอังกฤษ และกลุ่ม EU ก็ปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการลงทุนจากไทยไปยังกลุ่ม EU ก็ไม่ได้ มากนัก
ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แม้จะถูกกระทบบ้างจากสัดส่วนรายได้ของ กลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่ม EU คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของทั้งหมด แต่เชื่อว่าจะอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด เพราะประเทศไทยยังถือว่ามีค่า ใช้จ่ายต่ำในการที่จะเดินทางท่องเที่ยว เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
อย่างไรก็ตามในด้านการลงทุนตลาดหุ้นนั้น เห็นว่านักลงทุนควรพิจารณาจากปัจจัยในประเทศมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกำลัง ซื้อในประเทศ การบริโภค และการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ และในช่วงราคาหุ้นปรับตัวลงก็เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้า ซื้อหุ้นสะสมเพิ่มเติม โดยให้ดูหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศที่ได้รับผลบวกจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวดีขึ้น กลุ่มรับ เหมาก่อสร้าง
ด้านนางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า หากผลการลง ประชามติออกมาว่าอังกฤษยังเป็นสมาชิกใน EU ต่อไป ตลาดหุ้นไทยก็น่าจะดีดตัวกลับ หลังมีการตอบรับกับข่าวนี้ไปพอสมควร แต่หาก อังกฤษแยกตัวออกจากการเป็นสมาชิก EU ในเชิงของเศรษฐกิจในประเทศก็อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากการเจรจา การค้าไทย และ EU ก็ได้หยุดชะงักไปหลายปีแล้ว ขณะที่ในแง่ของตลาดการเงินและตลาดหุ้นไทย ก็น่าจะได้รับผลกระทบจากกังวลต่อ เศรษฐกิจโลก รวมถึงความกังวลว่าจะมีประเทศอื่น ๆ ที่จะขอออกจาก EU ตามอังกฤษอีกหรือไม่
"ถ้าสมมติว่าไม่ออกก็คงไม่ได้เกิดผลกระทบอะไร ตลาดก็อาจจะดีดกลับ เพราะตอนนี้ตอบรับไปพอสมควร รวมไปถึงค่า เงินต่างๆ เช่น ค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าไปรับความวิตกกังวลตรงนี้ ถ้าผลออกมาไม่ออกก็คงดีดกลับ แต่ถ้าผลออกมาว่าออก ก็น่าจะมี ความผันผวนเล็กน้อย ผลกระทบโดยตรงในเชิงเศรษฐกิจยังมองว่าอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมาก"นางสาวธีรดา กล่าว
นางสาวธีรดา กล่าวว่า หากอังกฤษออกจาก EU ตลาดการเงินโลกจะมีความผันผวนมากที่สุด โดยเฉพาะค่าเงินปอนด์ที่ น่าจะปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความกังวลที่มีมากขึ้นก็จะทำให้แรงซื้อเข้ามาในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินเยน เป็นต้น ซึ่งเมื่อค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของตลาดหุ้น และการส่งออก รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ก็มี ความเสี่ยงทางปรับตัวลง ขณะที่ทองคำซึ่งถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ทางเลือก ก็อาจจะมีแรงซื้อกลับเข้าไป โดยมองราคาทองคำน่าจะอยู่ ที่ 1,350-1,380 ดอลลาร์/ออนซ์
สำหรับราคาน้ำมันก็อาจจะปรับตัวลงมาต่อจากความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจโลก และการดำเนินนโยบายของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมีผลกระทบกับค่าเงิน และความ ผันผวนในตลาดการเงินโลก และตลาดหุ้นทั่วโลก
นางสาวธีรดา กล่าวว่า ส่วนตลาดหุ้นไทย ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลง โดยดัชนีน่าจะปรับตัวลงไปอยู่ที่ระดับ 1,360 จุด หรือต่ำกว่านี้ก็ยังมีอยู่ ตามความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น รวมถึงตลาดการเงิน ที่จะส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงได้ ขณะที่ผลกระทบ ต่อหุ้นรายตัว มองว่าหุ้นทุกกลุ่มก็น่าจะได้รับผลกระทบด้วยกันหมด จากปัจจัยเชิง Sentiment แต่หุ้นที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ หุ้นกลุ่มแบงก์ และธุรกิจที่มีการทำธุรกรรม หรือส่งออก ไปยังประเทศในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะมีผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยน และ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
ด้านบล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ โดยประเมินผลกระทบของ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยมีค่อนข้าง จำกัด เนื่องจากไทยมีการส่งออกตรงไปยังสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงอังกฤษ เพียงประมาณ 2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ส่วน มากเป็นไก่แปรรูป, รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดยในส่วนของผลกระทบต่อค่าเงินนั้น พบว่าการออกจากกลุ่มสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร และยุโรป อาจส่งผลให้การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าสู่สหราชอาณาจักรอาจชะลอตัวไปเพื่อรอความชัดเจน ในขณะเดียวกับ แบงก์ขนาดใหญ่หลายแห่งก็ขู่ที่จะย้ายศูนย์กลางบริการการเงินออกจากอังกฤษ ซึ่งสองปัจจัยนี้จะส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง และ อาจจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนในเสถียรภาพของกลุ่มสหภาพยุโรป และส่งผลให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง
ด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินเยน จะกลายเป็นสกุลเงินที่นักลงทุนให้ความสนใจในฐานะ Safe Haven และทำ ให้ค่าเงินทั้งสองมีแนวโน้มแข็งค่า
หากผลประชามติเป็นอังกฤษไม่ออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป ตลาดการเงินคาดว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ค่าเงินยูโรและ ปอนด์ที่ถูกเทขายมาก่อนหน้านี้คาดว่าจะมีแรงซื้อกลับ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่นที่ได้ Price in Brexit ไว้พอสมควรคาด ว่าจะกลับมา Outperform ตลาดหุ้นทั่วโลก ในขณะที่ทองคำและค่าเงินเยนคาดว่าจะถูกแรงเทขายทำกำไรออกมา
ด้านผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น เนื่องจากไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก Brexit โดยผลกระทบระยะสั้นที่มองเห็นได้ จะมาจากการอ่อนของค่าเงินยูโรและเงินปอนด์ การชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจชั่วขณะ และการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่จะน้อยลง โดยได้รวบรวมรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและผลบวกระยะสั้นจาก Brexit
หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผล"ลบ"หากเกิด Brexit บริษัท มุมมองที่อาจได้รับผลกระทบ บมจ.ซีเฟรชอินดัสตรี (CFRESH) รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายในสหราชอาณาจักรกว่า 80% บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) มีสัดส่วนรายได้ในยุโรปประมาณ 30% บมจ.เอสวีไอ (SVI) มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียกว่า 75% บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มประเทศยุโรปกว่า 46% บมจ. เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) มีสัดส่วนรายได้เกินกว่า 80% มาจากยุโรป บมจ. บางกอกแร้นช์ (BR) มีรายได้จากยุโรปคิดเป็นสัดส่วนราว 25% บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) กำลังการผลิตกว่า 26% อยู่ในยุโรป บมจ.ไทยออพติคอล กรุ๊ป (TOG) มีรายได้กว่า 75% จากสหภาพยุโรป บมจ. การบินกรุงเทพ (BA) ผู้โดยสาร code share กว่า 25% มาจากประเทศโซนยุโรป บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) พึ่งซื้อกิจการโรงแรมในยุโรปโดยคาดคิดเป็นรายได้ราว 10% หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผล"บวก"หากเกิด BREXIT บมจ.การบินไทย (THAI) หนี้กว่า 40% เป็นสกุลยูโร หากเงินอ่อนจะเกิด FX Gain,รายได้ 11% มาจากยูโร บมจ.ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) หนี้เกือบทั้งหมดเป็นสกุลยูโร เงินอ่อนก็จะทำให้เกิด FX Gain