สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (20 - 24 มิถุนายน 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 328,904.13 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 65,780.83 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 25% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 75% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 245,635 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 59,777 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 8,365 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB21DA (อายุ 5.5 ปี) LB196A (อายุ 3.0 ปี) และ LB206A (อายุ 4.0 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 12,515 ล้านบาท 11,337 ล้านบาท และ 10,378 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC233A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 791 ล้านบาท หุ้นกู้ของธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) รุ่น UOBT193A (AAA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 747 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC22OA (A+) มูลค่าการซื้อขาย 560 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงประมาณ 2-3 bps. ในตราสารระยะยาว โดยตราสารอายุ 10 ปี ปรับลดลง 3 bps. จาก 2.14% มาอยู่ที่ 2.11% โดยเฉพาะในวันศุกร์ที่ 24 มิ.ย. ปรับลดลง 6 bps. จากการที่ประกาศผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรที่จะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) หรือที่เรียกว่า Brexit ซึ่งฝ่ายสนับสนุนให้แยกตัวเป็นฝ่ายชนะ คิดเป็น 52% ต่อ 48% ซึ่งถือเป็นการ Surprise ตลาด เนื่องจาก ผลของการสำรวจที่ออกมาก่อนหน้าวันลงประชามติ (ลงประชามติวันที่ 23 มิ.ย.) ชี้ไปในทางสนับสนุนว่าไม่ออกจาก EU หรือที่เรียกว่า Bremain ส่งผลต่อค่าเงินของทั้งเงินปอนด์และเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างมาก (เงินปอนด์จาก 1.4878 ดอลลาร์/ปอนด์ เป็น 1.3678 ดอลลาร์/ปอนด์ และเงินยูโรจาก 1.1385 ดอลลาร์/ยูโร เป็น 1.1115 ดอลลาร์/ยูโร) และทำให้ค่าเงินหลักในสกุลอื่นอย่างดอลล่าร์สหรัฐฯ และเยนแข็งค่าขึ้นอย่างมากในฐานะเป็นสกุลเงินปลอดภัยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว (เงินเยนจาก 106.13 เยน/ดอลลาร์ เป็น 102.19 เยน/ดอลลาร์) ส่วนค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจาก 35.10 บาท/ดอลลาร์ เป็น 35.29 บาท/ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้ทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยด้วยเช่นกัน ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวลดลง 23.22 จุด จาก 1436.40 เป็น 1413.18 หรือคิดเป็น 1.61%
ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ในปีนี้ สู่ระดับ 2.2% จาก 2.4% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือน เม.ย. ด้านปัจจัยในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 22 มิ.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5% ต่อปี ซึ่ง กนง. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ตลาดติดตามรายงานตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาส 1/2559 ในสัปดาห์หน้า
สัปดาห์ที่ผ่านมา (20 - 24 มิ.ย. 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 3,234 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 3,112 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 2,921 ล้านบาท และเป็นตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ (Expired) 3,043 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (20 - 24 มิ.ย. 59) (13 - 17 มิ.ย. 59) (%) (1 ม.ค. - 24 มิ.ย. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 328,904.13 437,374.34 -24.80% 11,238,933.64 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 65,780.83 87,474.87 -24.80% 96,887.36 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 112.26 112.28 -0.02% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 107.62 107.57 0.05% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (24 มิ.ย. 59) 1.35 1.44 1.45 1.6 1.79 2.11 2.49 2.79 สัปดาห์ก่อนหน้า (17 มิ.ย. 59) 1.36 1.44 1.45 1.61 1.81 2.14 2.5 2.82 เปลี่ยนแปลง (basis point) -1 0 0 -1 -2 -3 -1 -3