นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้รับการก่อตั้งขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร SCB ที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาของ Financial technology (FinTech) ที่จะมีผลกระทบต่อการเติบโตของธนาคาร ความจำเป็นในการปรับตัวของธนาคารละการนำ solution ใหม่ๆเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมของธนาคารในการผลักดันสตาร์ทอัพไทยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ภารกิจสำคัญของดิจิทัล เวนเจอร์ส คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกแห่ง Financial Technology ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่ตอบสนองธนาคารรวมถึงการผลักดันให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับธนาคารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ ดิจิทัล เวนอเจอร์ส จะใช้เงินลงทุนที่เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 50 ล้านเหรียญฯ ลงทุนใน 2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธนาคารและงานด้านอื่นๆ โดยในส่วนแรกจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนที่มีการลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพอยู่แล้ว (Fund of Fund) ซึ่งบริษัทมีความต้องการที่จะได้รับความรู้และข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาประกอบการศึกษา เองจากเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจก่อน โดยในส่วนแรกนี้จะใช้เงินลงทุน 40% ของเงิลงทุนทั้งหมด
ส่วนที่สองเป็นการลงทุนโดยตรงกับสตาร์ทอัพทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งใช้เงินลงทุนในสัดส่วน 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศในช่วงแรกบริษัทจะลงทุนร่วมกับพันธมิตร อย่างเช่น ไอบีเอ็ม และไมโครซอฟท์ ที่มีเวนเจอร์ส แคปปิตอลอยู่แล้ว เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการหาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์กับธนาคารและลูกค้าของธนาคารทุกลุ่มที่มาจากสตาร์ทอัพจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับ Blockchain จากต่างชาติ 1 ราย และคาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ จะมีความชัดเจนในการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน
ด้านการลงทุนตรงกับสตาร์ทอัพในประเทศปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพในประเทศที่มีอยู่จำนวน 10 ราย ที่มีความน่าสนใจและนำมาปใช้กับธนาคารได้ โดยธนาคารที่ความสนใจหนึ่งผลิตภัณฑ์จากสตาร์ทอัพรายหนึ่งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นให้กับธนาคารและเป็นประโยชน์กับลูกค้าของธนาคาร ซึ่งบริษัทจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอที่ประชุมบริษัทในเดือนกรกฎาคมนี้ และหากที่ประชุมอนุมัติคาดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาการพัฒนาและทดลองระบบราว 4-5 เดือน และคาดว่าสามารถเริ่มใช้งานได้ภายในปลายปีนี้
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการใช้เงินลงทุนจำนวน 350 ล้านบาท สำหรับการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ ภายใต้ชื่อ Digital Venture Accelerator (DVA) ซึ่งสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการจะได้รับความรู้พื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น จากที่ปรึกษาที่มีความชำนาญ โดยสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับเงินทุนให้เปล่าจำนวน 300,000 บาท ซึ่งแบ่งเป็นสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับ Financial Technology 50% และด้านอื่นๆอีก 50% โดย DVA มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่หลากหลายและตอบโจทย์ได้ทั้ง SCB และลูกค้า SCB ทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าธุรกิจ โดยโครงการ DVA จะเริ่มเปิดรับสมัครในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะมีสตาร์ทอัพที่จบหลักสูตรในรุ่นแรกจำนวน 8 ราย
“การลงทุนต่างๆทาง SCB ไม่ได้ต้องการกำไรอะไรมากนัก ถึงแม้การลงทุนจะให้กำไรกลับมาน้อยก็ตาม แต่การลงทุนทำเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมของสตาร์ทอัพที่เรามองว่าสิ่งที่เขาทำขึ้นนั้นมีประโยชน์ต่อธนาคารและลูกค้าของธนาคาร สามารถอำนวยความสะดวกได้ทั้ง 2 ฝ่าย รวมไปถึงสิ่งที่เขาทำนั้นการเติบโตของสตาร์ทอัพจะต้องมีการเติบโตไปพร้อมกับฐานลูกค้าของธนาคารและธนาคารด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นผลสำเร็จชัดเจน ของดีของบริษัทอีกอย่างคือการที่ผู้บริหารของ SCB มานั่งในบริษัทด้วยทำให้การตัดสินใจมีความรวดเร็ว ตามคอนเซ็ปต์ better cheaper and fastter"นายธนา กล่าว