สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (15 - 19 สิงหาคม 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 406,689.84 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 81,337.97 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 3% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 75% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 306,952 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 66,975 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 14,154 ล้านบาท หรือคิดเป็น 16% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB176A (อายุ .8 ปี) LB21DA (อายุ 5.3 ปี) และ LB196A (อายุ 2.8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 33,329 ล้านบาท 7,004 ล้านบาท และ 5,196 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด รุ่น GED198A (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 2,000 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด รุ่น BAM17DB (AA-(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,766 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด รุ่น BAM17DA (AA-(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,022 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในตราสารระยะยาวประมาณ 3-5 bps. โดยตราสารอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 5bps. จาก 2.08% มาอยู่ที่ 2.13% จากการที่นักลงทุนให้ความสนใจกับแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แม้ว่าเมื่อคืนวันพุธที่ 17 ส.ค. จะมีการเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) วันที่ 26-27 กรกฎาคม ซึ่งกรรมการ Fed มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยความเห็นบางส่วนควรรอให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นสู่เป้าหมาย 2% อีกส่วนหนึ่งมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐสามารถรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ส่งผลให้ตลาดเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ก็ตาม ในขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯรายงานจำนวนผู้ที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ลดลง 4,000 รายสู่ระดับ 262,000 รายต่ำกว่าระดับ 300,000 รายต่อเนื่องกัน 76สัปดาห์
ด้านปัจจัยภายในประเทศโดยเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ส.ค.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2559 ขยายตัว 3.5% สูงกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 3.2% โดยครึ่งปีแรกของปี 2559 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.4% และยังคงการคาดการณ์ว่า GDP ปี 2559 จะเติบโตประมาณ 3.0-3.5% ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น
ทั้งนี้ตลาดติดตามการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่ง (Jackson Hole Economic Symposium)วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคมนี้ ซึ่งนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด จะขึ้นกล่าวในการประชุมครั้งนี้โดยอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา (15-19 สิงหาคม 59) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ20,254ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 20,670 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 4,850ล้านบาทและเป็นตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ (Expired) 5,266 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (15 - 19 ส.ค. 59) (8 - 11 ส.ค. 59) (%) (1 ม.ค. - 19 ส.ค. 59) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 406,689.84 394,753.77 3.02% 14,673,749.87 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 81,337.97 98,688.44 -17.58% 96,537.83 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 112.3 112.55 -0.22% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 107.51 107.65 -0.13% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (19 ส.ค. 59) 1.33 1.46 1.48 1.61 1.75 2.13 2.47 2.69 สัปดาห์ก่อนหน้า (11 ส.ค. 59) 1.33 1.45 1.47 1.58 1.72 2.08 2.44 2.68 เปลี่ยนแปลง (basis point) 0 1 1 3 3 5 3 1