ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ของ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP) ที่ระดับ “BBB" พร้อมทั้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “BBB" โดยแนวโน้มยังคง “Stable" หรือ “คงที่"
ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ไปชาระหนี้เดิม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ อันดับเครดิตยังคงสะท้อนสถานะของบริษัทในการเป็นผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas-LPG) ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศไทย รวมถึงการมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง และฐานลูกค้าที่กระจายตัวกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตถูกลดทอนบางส่วนจากความเสี่ยงของธุรกิจโดยรวมที่สูงขึ้นจากการดาเนินงานในต่างประเทศ ซึ่งทาให้บริษัทเผชิญกับความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาก๊าซ LPG มากขึ้น
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงสามารถรักษาสถานะผู้ค้าก๊าซ LPG รายใหญ่อันดับ 2 ในประเทศไทยเอาไว้ได้ โดยกระแสเงินสดที่แน่นอนจากการค้าก๊าซ LPG ในประเทศไทยจะช่วยลดผลกระทบจากกาไรที่ผันผวนของการดาเนินงานในต่างประเทศได้
โอกาสในการปรับอันดับเครดิตเพิ่มขึ้นนั้นมีค่อนข้างจากัดในระยะปานกลางเนื่องจากบริษัทเผชิญกับความเสี่ยงจากราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากเงินทุนจากการดาเนินงานของบริษัทเพิ่มและมีเสถียรภาพมากขึ้น หรือหากบริษัทสามารถควบคุมอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนให้อยู่ระดับต่าเป็นระยะเวลานานอันดับเครดิตของบริษัทอาจได้รับการปรับลดลงหากสถานะการเงินของบริษัทถดถอยลงอย่างมากและเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากอัตราส่วนกาไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจาหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย และ/หรืออัตราส่วนเงินทุนจากการดาเนินงานต่อเงินกู้รวม ที่ด้อยกว่าประมาณการพื้นฐานของทริสเรทติ้งอย่างมีนัยสาคัญ หรือเกิดจากการซื้อกิจการหรือลงทุนโดยใช้หนี้สินจานวนมาก จนส่งผลให้สถานะการเงินนั้นด้อยลงอย่างมีนัยสาคัญ
บริษัทสยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ ก่อตั้งในปี 2544 โดยกลุ่มตระกูลวีรบวรพงศ์ และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2551 ณ เดือนกันยายน 2559 กลุ่มตระกูลวีรบวรพงศ์ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทในสัดส่วน 61% บริษัทเป็นผู้ค้าก๊าซ LPG รายใหญ่อันดับ 2 ในประเทศไทย โดยธุรกิจในประเทศไทยประกอบด้วยการค้าก๊าซ LPG ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “สยามแก๊ส" และ “ยูนิคแก๊ส" ณ เดือนกันยายน 2559 กลุ่มบริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดตามปริมาณการขาย LPG อยู่ที่ 24.0% รองจาก บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) (ปตท.) ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 38.5% บริษัทมีโครงข่ายการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งทั่วประเทศ บริษัทมีคลังเก็บก๊าซ LPG จานวน 8 แห่ง และมีสถานีบริการก๊าซ LPG จานวนมาก นอกจากนี้ บริษัทยังมีระบบขนส่งของตนเอง ทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อสนับสนุนธุรกิจค้าก๊าซ LPG ของบริษัทภายในประเทศ ธุรกิจจาหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศไทยนั้นสามารถสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทได้ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสดนั้นเริ่มด้อยลงอันเนื่องมาจากการหดตัวของยอดขายก๊าซ LPG ในภาคครัวเรือน และภาค ยานยนต์
นอกจากนี้ อันดับเครดิตได้พิจารณาถึงความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทในต่างประเทศ บริษัทเริ่มขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี 2553 โดยดาเนินธุรกิจค้าก๊าซ LPG ในประเทศจีน เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงธุรกิจการค้านอกชายฝั่งทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก บริษัทเป็นเจ้าของคลังเก็บก๊าซใต้ดินขนาดใหญ่ 2 แห่งในประเทศจีนเพื่อใช้กักเก็บก๊าซ LPG ซึ่งมีความสามารถในการเก็บก๊าซ LPG ได้ทั้งสิ้น 300,000 ตัน นอกจากนี้ บริษัทยังมีคลังลอยน้าที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีขนาดบรรจุ 45,000 ตันเพื่อสนับสนุนการค้าก๊าซ LPG นอกชายฝั่งทะเล ถึงแม้ว่าธุรกิจการค้าก๊าซ LPG ในต่างประเทศนั้นจะช่วยกระจายความเสี่ยงธุรกิจเชิงภูมิภาคและให้โอกาสในการเติบโตแก่ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของธุรกิจนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเผชิญความผันผวนของราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลก เพื่อที่จะลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนของราคาก๊าซ LPG บริษัทได้ประกาศลงทุนในโรงไฟฟ้ากาลังการผลิต 230 เมกะวัตต์ที่ประเทศเมียนมาร์ในเดือนกรกฎาคม 2559 การลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทจะถือหุ้นในสัดส่วน 30% ของโครงการ ทั้งนี้ การซื้อขายคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2560 และคาดว่าบริษัทจะมีส่วนแบ่งรายได้ตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย (Equity Income) ประมาณ150-200 ล้านบาทต่อปี
ความเสี่ยงทางธุรกิจโดยรวมนั้นสูงขึ้น อันเนื่องมาจากบริษัทเผชิญต่อความไม่แน่นอนของราคาก๊าซ LPG และการแข่งขันในประเทศจีนที่มากขึ้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 สัดส่วนปริมาณขายในตลาดต่างประเทศนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 66% ของปริมาณการขายทั้งหมด เปรียบเทียบกับ 63% ในปี 2558 และ 53% ในปี 2557 ยอดขายของก๊าซ LPG ในประเทศมีจานวนเท่ากับ 0.75 ล้านตันในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 ซึ่งยังคงลดลงต่อเนื่องคิดเป็น 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มดีขึ้นจากปี 2558 ที่ลดลงถึง 7.3% การลดลงของยอดขายยังคงมีสาเหตุหลักจากความต้องการในภาคยานยนต์ที่หดตัว ในขณะที่การบริโภคในภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมนั้นเริ่มคงที่ ในทางตรงข้ามยอดขายในตลาดต่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีจานวนเท่ากับ 1.49 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึง 20.6% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 ทั้งนี้ ประมาณ 72% ของการเติบโตนั้นมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน โดยในเดือนกันยายน 2559 ยอดขายจากประเทศจีนคิดเป็นสัดส่วน 54% ของยอดขายทั้งหมดที่มาจากต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งมองว่า บริษัทมีแนวโน้มที่จะเผชิญต่อความผันผวนด้านราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกมากขึ้น เนื่องจากบริษัทยังขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาก๊าซที่อยู่ในระดับต่าในปัจจุบัน นั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทในระยะสั้น โดยจะช่วยกาจัดความเสี่ยงขาลงของราคาก๊าซ LPG ซึ่งน่าจะทาให้ผลประกอบการของบริษัทผันผวนน้อยลงกว่าในอดีต
ภายใต้การประมาณการพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมีรายได้เติบโตโดยเฉลี่ยปีละ 5%-8% ในระยะ ปานกลางโดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักจะมาจากการฟื้นตัวของราคาก๊าซ ความต้องการของก๊าซ LPG ในต่างประเทศของบริษัทนั้นจะยังคงเพิ่มขึ้นจากราคาก๊าซที่อยู่ในระดับต่า ในช่วง 3 ปีข้างหน้า คาดว่ายอดขายจากธุรกิจในตลาดต่างประเทศจะมีสัดส่วนประมาณ 65%-70% ของยอดขายทั้งหมด เงินทุนจากการดาเนินงานจะยังคงผันผวน แต่น่าจะอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 ล้านบาทต่อปี อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นคาดว่าจะอยู่ประมาณ 50% สภาพคล่องของบริษัทนั้นยังคงเพียงพอ อัตราส่วนกาไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายคาดว่าจะมากกว่า 5 เท่า และ อัตราส่วนเงินทุนจากการดาเนินงานต่อเงินกู้รวมคาดว่าจะอยู่สูงกว่า 15%