นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ ในลักษณะซึม ๆ ทั้งในแดนบวก-ลบไม่มาก คล้ายคลึงกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อย เนื่องจากต้องการรอดูนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันนี้
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลงมา 4 วันแล้ว รวมถึงราคาน้ำมันได้กลับมารีบาวด์เมื่อคืนที่ผ่านมาก็น่าจะช่วยหนุนตลาดฯได้บ้าง พร้อมให้แนวรับ 1,550-1,545 จุด ส่วนแนวต้าน 1,560 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (19 ม.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 19,732.40 จุด ลดลง 72.32 จุด (-0.37%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,540.08 จุด ลดลง 15.57 จุด (-0.28%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,263.69 จุด ลดลง 8.20 จุด (-0.36%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 13.10 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 5.48 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 83.43 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 8.68 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 7.25 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 1.78 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 1.35 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 6.36 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (19 ม.ค.60) 1,554.88 จุด ลดลง 5.95 จุด (-0.38%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 191.75 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 ม.ค.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (19 ม.ค.60) ปิดที่ 51.37 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 29 เซนต์ หรือ 0.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (19 ม.ค.60) ที่ 6.73 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 35.38/40 แนวโน้มแข็งค่า ตลาดจับตาการเข้ารับตำแหน่งปธน.และการประกาศนโยบายศก."ทรัมป์"
- อธิบดีกรมศุลฯ ระบุ กำลังอยู่ระหว่างคำนวณภาษีที่เชฟรอนต้องจ่ายคืนให้รัฐจากการขนน้ำมันในประเทศไปใช้บนแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทย เหตุที่ผ่านมาขอคืนภาษี 2 ช่วงเวลา ด้านคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเชฟรอนจากกระทรวงการคลัง คาดจะได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้
- 'ศุภชัย เจียรวนนท์'ยันแม้ไปนั่งตำแหน่งซีอีโอเครือซีพีก็ไม่กระทบกับทรู เนื่องจากยังเป็นบอร์ดอยู่ ระบุขณะนี้ได้ตัวผู้บริหารคนใหม่แล้ว แต่ขอไม่เปิดเผย เหตุยังไม่ได้รายงานตลท. คาดไม่เกินไตรมาส 2 ดำเนินการแล้วเสร็จ พร้อมเผยจากนี้'ทรู-ซีพี'จะทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น
- ธปท.มองส่งออกปีนี้ดีขึ้น แต่ขอดูความชัดเจนนโยบาย"ทรัมป์" ก่อนทบทวนประมาณการใหม่เดือนมี.ค.นี้ นักวิชาการห่วงผลลบต่อเศรษฐกิจไทย ด้านหุ้นปิดร่วงอีก 6 จุดเมื่อวานนี้
- ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง เห็นชอบให้ธนาคารออมสินขยายเวลาโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือซอฟต์โลน ระยะที่ 3 วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ถึงสิ้นปี 2560 โดยในปีที่ผ่านมามียอดอนุมัติสินเชื่อในโครงการนี้กว่า 1 หมื่นล้านบาท คงเหลือสินเชื่อในโครงการนี้อีกราว 2 หมื่นล้านบาท
*หุ้นเด่นวันนี้
- BBL (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 186 บาท ประกาศกำไร 4Q59 ที่ 8,267 ล้านบาท ดีขึ้น 3%QoQ และ 8%YoY ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ก่อนหน้า โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญลดลงมากจากระดับสูงในไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น มองแนวโน้มปี 60 ปัญหา NPL จะไม่รุนแรงเท่ากับปีก่อน
- KTC (เคจีไอฯ) "เก็งกำไร"เป้า 160 บาท วานนี้รายงานผลการดำเนินงาน 4Q59 = 640 ล้านบาท (+20% YoY และ +0.1% QoQ) ดีกว่าคาดราว 13% แต่ใกล้เคียงกับที่ Consensus คาด และด้วยแนวโน้มการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ โดยยังคงประเมินแนวโน้มกำไรปี 2560-61 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 19% นอกจากนี้ PE ปี 2560 ต่ำเพียง 12.2 เท่า และปันผล 3.5% อีกทั้งประเด็นภาครัฐฯจัดระเบียบหนี้นอกระบบ คาดจะทำให้สินเชื่อในกลุ่ม Non-bank มีโอกาสเติบโต (สินเชื่อกลับเข้าสู่ระบบฯ) คาดเป็น Sentiment ต่อหุ้นในกลุ่มฯ
- WHA (ยูโอบี เคย์เฮียน) คาดกำไรไตรมาส 4/59 ทำสถิติสูงสุดใหม่ จากการขายสินทรัพย์ของ WHA และ HEMRAJ เข้าสู่ REIT ซึ่งเงินที่ได้รวมทั้งที่จะมาจากการ IPO หุ้น WHAUP จะช่วยลดภาระหนี้และทำให้กลับมาเริ่มจ่ายปันผลได้ อีกทั้งคาดบริษัทให้สิทธิ์จองซื้อหุ้นลูกกับผู้ถือหุ้นแม่ (Preemptive right)
- PTTEP (ไอร่า) เป้า 106 บาท แผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี (2560-2564) ยังคงแผนการลงทุนต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเงินลงทุนรวม 5 ปี (CAPEX) อยู่ที่ประมาณ 8.82 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 314,000 ล้านบาท)ส่วนแผนการผลิตของ PTTEP ในปี 60 คาดปริมาณการผลิตอยู่ที่ 3.12 แสนบาร์เรล/วัน ลดลง 2.5% จาก 3.2 แสนบาร์เรล/วัน ในช่วงปี 59 จากการขายแหล่งโอมานออกไป ประกอบกับปริมาณการผลิตน้ำมันจากแหล่งเวียดนาม 16-1 และมอนทาราที่ลดลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มต่อเนื่อง มาอยู่ที่ 53-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 1 ปี 5 เดือน จากข้อตกลงความร่วมมือของกลุ่มโอเปกและนอกโอเปกในการลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ส่วนผลการดำเนินงานของ PTTEP ในปี 60 คาดว่าจะสามารถรับมือกับความผันผวนของราคาน้ำมันดิบได้ เนื่องจากคาดว่า PTTEP ได้มีการทำ hedging ไว้แล้วจำนวนประมาณ 30% ของการผลิตทั้งหมด