บมจ.แอดวานซ์ อิฯโฟ เซอร์วิส (ADVANC) ชี้แจงผลประกอบการในปี 59 ซึ่งบริษัทมีกำไรเสุทธิ 3.07 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่กำไร 3.92 หมื่นล้านบาท เนื่องจากรายได้รวม (ไม่รวมค่าก่อสร้าง) ทั้งปีอยู่ที่ 152,150 ล้านบาท ลดลง 2% จากปี 58 โดยรายได้จากการขายโทรศัพท์ลดลง ขณะที่รายได้จากการให้บริการขยายตัว
ทั้งนี้ รายได้จากการขายซิมและโทรศัพท์ อยู่ที่ 23,924 ล้านบาท ลดลง 14% จากปีก่อน จากแคมแปญแจกและลดราคาโทรศัพท์ ส่งผลให้อัตราการขาดทุนจากการขายซิมและโทรศัพท์สูงขึ้นเป็น -4.2% เทียบกับ -0.8% ในปี 58 รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เท่ากับ 122,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากปีก่อน และสอดคล้องกับที่คาดการณ์ เป็นผลจากการขยายโครงข่าย 4G อย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปี 59 แม้รายได้ในช่วงครึ่งแรกของปีจะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในการให้บริการคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์
รายได้จากการโทร อยู่ที่ 51,250 ล้านบาท ลดลง 15% จากปีก่อน จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทดแทนการโทร และรายได้จากการให้บริการข้อมูล อยู่ที่ 63,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน จากความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนที่ยังคงเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจาก 2 กิกะไบต์/เลขหมาย/เดือน ในปีก่อน เป็น 3.6 กิกะไบต์
ขณะที่ปริมาณผู้ใช้งานมือถือ 4G เพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านราย และมีรายได้จากการใช้งานดาต้าคิดเป็น 46% ของรายได้จากการให้บริการ จาก 37% ในปีก่อน
ส่วนรายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อยู่ที่ 860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 616% จาก 120 ล้านบาทในปีก่อน และมีฐานรายได้ในไตรมาส 4/59 คิดเป็น 1.2% ของรายได้จากการให้บริการ โดยการเติบโตเป็นผลจากทั้งจำนวนผู้ใช้บริการและรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
รายได้จากบริการต่างประเทศและรายได้อื่นๆ อยู่ที่ 6,594 ล้านบาท ลดลง 2.5% จากรายได้จากการโทรออกต่างประเทศที่ลดลง ขณะที่รายได้ของบริการข้ามแดนอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นจากภาพรวมการท่องเที่ยวในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นในปี 59
ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสุทธิ (Net IC) อยู่ที่ 285 ล้านบาท ลดลงจาก 681 ล้านบาทในปีก่อน โดยรายได้และค่าใช้จ่ายเชื่อมโยงโครงข่ายลดลงจากมีการปรับอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 จาก 0.45 บาท/นาที เป็น 0.34 บาท/นาที และตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายได้ปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.27 บาท/นาที
ด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายต้นทุนรวม (ไม่รวมค่าก่อสร้าง) อยู่ที่ 82,992 ล้านบาท ลดลง 2.1% จากปีก่อน จากค่าต้นทุนโครงข่ายและการทาแคมเปญมือถือที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและส่วนแบ่งรายได้ลดลง โดยต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและส่วนแบ่งรายได้ อยู่ที่ 10,414 ล้านบาท ลดลง 26% เทียบกับปีก่อน จากการดำเนินงานภายใต้ระบบสัมปทานที่สิ้นสุดลงในไตรมาส 2/59 ขณะที่ในไตรมาส 3/59 ต้นทุนค่าธรรมเนียมได้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่กสทช.กำหนด
โดยรวมในปี 59 ต้นทุนค่าธรรมเนียมคิดเป็นสัดส่วน 8.5% ของรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เมื่อเทียบกับ 11.7% ในปีก่อน 