ท่านจำเริญ กล่าวว่า จากการพูดคุยกับแรงงานชาวกัมพูชา และได้เยี่ยมสถานที่ทำงาน หอพัก โรงอาหาร ของโรงงานแปรรูปสุกร ทำให้รัฐบาลกัมพูชามีความมั่นใจมากถึงการดูแลและปฏิบัติต่อคนกัมพูชาของซีพีเอฟ และพบชาวกัมพูชาอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอย่างมีความสุข และที่สำคัญหลายคนสามารถเก็บเงินส่งกลับที่บ้านได้เดือนละ 10,000 บาท ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนกัมพูชาและครอบครัว
“การจัดจ้างแรงงานกัมพูชา 1 คนได้มีส่วนช่วยเหลือยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวในกัมพูชา ในนามรัฐบาลกัมพูชาจึงขอขอบคุณซีพีเอฟที่ดูแลเอาใจใส่ประชาชนกัมพูชา และดูแลด้วยความเอาใจใส่ อย่างเหมาะสม และเท่าเทียม" ท่านจำเริญกล่าว
นายวรเศรษฐ รันวงศานิธิโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ โรงงานแปรรูปสุกร CPF กล่าวว่า ซ๊พีเอฟมีนโยบายการจัดจ้างและปฏิบัติต่อแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และปฏิบัติตามการบันทึกข้อตกลงในการจัดจ้างแรงงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
โรงงานแปรรูปสุกร แปดริ้ว มีแรงงานต่างชาติกว่า 700 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานกัมพูชา มีแรงงานเมียนมาประมาณ 20 คน โดยบริษัทจัดจ้างตรงทั้งหมด ได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ การจัดอบรม ค่ารักษาพยาบาล ประกันชีวิต การพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง เสมอภาคและ เทียบเท่ากับแรงงานคนไทย พร้อมทั้งจัดหอพัก รวมทั้งมีล่ามที่พูดภาษาไทยได้ให้ความช่วยเหลือ ติดต่อประสานงาน รวมถึงการปรึกษาต่างๆ เพื่อให้แรงงานต่างชาติทำงานอย่างมีความสุข
นโยบายการจัดจ้างแรงงานต่างชาติ ซีพีเอฟจะจัดจ้างเป็นพนักงานบริษัทโดยตรง มีการคัดเลือกคนกัมพูชาที่มาทำงานผ่านบริษัทตัวแทนจัดหางานที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลกัมพูชา มีกระบวนการคัดเลือกอย่างโปร่งใส และมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานของซีพีเอฟในประเทศนั้นๆ อย่างใกล้ชิด
ปัจจุบัน ซีพีเอฟ จัดจ้างแรงงานต่างชาติโดยรวมเกือบ 9,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชากว่า 6,300 คน ที่เหลือเป็นแรงงานชาวเมียนมา ซึ่งบริษัทฯ มีนโยบายการจัดจ้างและปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ได้รับความเชื่อมั่นจากรัฐบาล และประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง