นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานคณะกรรมการ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท.อนุมัติให้ ทอท.จ้างนิติบุคคล ร่วมทำงาน ล็อกซเล่ย์-แอลพีเอส เป็นผู้รับจ้างงานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุ ระเบิด (EDS) (ขาออก) (BHS & EDS) ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) ตามที่ ทอ ท.เสนอ เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ทอท.ได้เปิดประมูลงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า(BHS) และระบบตรวจ จับวัตถุระเบิด (EDS) (ขาออก) (BHS & EDS) และเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 ทอท.ได้เปิดซองการประกวดราคางานจัดซื้อ พร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS)(ขาออก) (BHS & EDS) โดยมีผู้สนใจ เข้ายื่นซองเสนอราคา จำนวน 3 ราย คือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) }, นิติบุคคลร่วมทำงาน ล็อกซเล่ย์-แอลพี เอส และเอวีที คอนซอร์เตรียม
จากการพิจารณาคัดเลือกงานที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อทอท. ปรากฏว่านิติบุคคลร่วมทำงาน ล็อกซเล่ย์-แอลพีเอส เป็น ผู้ที่เสนองานติดตั้งระบบฯ ที่มีเทคนิคดีกว่าผู้เสนอราคารายอื่นและเสนอราคาต่ำสุด เป็นเงิน 3,646,789,999.99 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ซึ่ง ทอท.ได้เจรจาต่อรองราคาลงเหลือเป็นเงิน 3,646,560,000.- บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7) ต่ำกว่าราคากลาง คิดเป็นร้อยละ 4 หรือประหยัดงบประมาณลงได้กว่า 152,201,176.38 บาท อนึ่ง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรอง รับการให้บริการผู้โดยสารจากปัจจุบัน 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคน และคาดว่าโครงการฯ จะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2562 ทั้ง นี้จากการที่ ทอท.ได้นำโครงการดังกล่าว เข้าร่วมเป็นโครงการต้นแบบตามโครงการของ Construction Sector Tranparency Initiative (Cost) ปรากฏว่า ทอท.สามารถประหยัดงบประมาณไปได้กว่า 10,641 ล้านบาท โดยมิได้มีการ ปรับลดเนื้องานหรือคุณภาพลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ คณะกรรมการ ทอท.มีมติอนุมัติ โครงการส่งเสริมการเพิ่มเครือข่ายการบินภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยาน ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ปี 2561 – 2563 เพื่อเป็นการสนับสนุนสายการบินที่เปิดเส้นทางบินภายในประเทศเส้นทางใหม่ที่ เชื่อมต่อท่าอากาศยานอื่นมายัง ทชร. ทอท.ได้เริ่มจัดทำโครงการส่งเสริมการเพิ่มเครือข่ายการพัฒนาการบินภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) สำหรับปี 2558 – 2560 (1 เมษายน 2558 –31 มีนาคม 2560) ซึ่ง ผลการดำเนินงานโครงการ มีสายการบินที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่ ทชร.คือสายการบินไทยแอร์เอเชีย และที่ ทหญ. คือสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ทอท.ได้มีการประเมินผลสำเร็จ และพิจารณาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การที่สายการบินที่เข้าร่วม โครงการฯ ยังคงมีการทำการบินอย่างต่อเนื่อง และจำนวนผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี การพิจารณา ศักยภาพของท่าอากาศยาน ซึ่ง ทชร.มีศักยภาพของทางวิ่งและอาคารผู้โดยสารที่สามารถรองรับจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ได้ ในขณะที่ ทหญ.มีการใช้อาคารผู้โดยสารเกินขีดความสามารถแล้ว นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวยต่อการประสบความ สำเร็จในการเปิดเส้นทางบินเพื่อเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานภายในประเทศมากขึ้นกว่าในอดีต เช่น มีการเพิ่มจำนวนของสายการ บินต้นทุนต่ำภายในประเทศ การพัฒนาด้านระบบการจองตั๋วเที่ยวบิน ตลอดจนความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของการเดินทางทางอากาศ ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
เมื่อพิจารณาจากผลสำเร็จของโครงการฯ ที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น ทอท.จึงได้จัดทำโครงการส่ง เสริมการเพิ่มเครือข่ายการบินภายในประเทศ ณ ทชร. ปี 2561-2563 (เริ่มต้นโครงการในวันที่ 1 มีนาคม 2561 สิ้นสุดโครงการ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการเพิ่มเครือข่ายการบินภายในประเทศ กระตุ้นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร ภายในประเทศ และยอดรายได้จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่ ทชร. รวมทั้งเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชน
ตามโครงการนี้ ทอท.จะให้การสนับสนุนสายการบินที่เปิดเส้นทางบินภายในประเทศเส้นทางใหม่ ที่เชื่อมต่อท่า อากาศยานอื่น ๆ มายัง ทชร. สำหรับเที่ยวบินแบบประจำ (Scheduled Flight) และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ที่มีตารางการบินที่แน่ นอน (Chartered Flight with confirmed schedule) ที่เข้าร่วมโครงการด้วยส่วนลดโดยอัตโนมัติผ่านการลดค่าบริการใน การขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee) ค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Fee) ค่าเช่าห้องเพื่อใช้เป็นสำนักงาน เงินโบนัส เพื่อส่งเสริมการขาย และเงินสนับสนุนการทำการตลาดเส้นทางบินใหม่ โดยมีการคำนวณส่วนลดเป็น 4 ช่วงเวลาๆ ละ 6 เดือน และจะคืนส่วนลดต่างๆ ให้สายการบินหลังหมดช่วงการคำนวณนั้นๆ แล้ว