บมจ.อินทัช (INTUCH) คาดในปี 61 รายได้จากธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศจะลดลงเล็กน้อยจากปี 60 เป็นผลจากการดำเนินงานของ บมจ.ไทยคม (THCOM) ที่คาดว่าปีนี้จะมีผลการดำเนินงานลดลง เนื่องจากคาดว่าดาวเทียมแบบทั่วไปมีอัตราการใช้งานดาวเทียมจะอยู่ที่ระดับเดิม โดยจะมีลูกค้าบางส่วนลดการใช้งานลง แต่จะถูกชดเชยด้วยรายได้จากลูกค้าบางรายที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้น และการหาลูกค้าใหม่ในแถบแอฟริกา ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเอเชียใต้ ส่วนดาวเทียมบรอดแบนด์คาดว่าอัตราการใช้งานดาวเทียมจะลดลงจากการยกเลิกสัญญากับลูกค้าบางราย แต่จะรับรู้รายได้จากลูกค้าใหม่ที่ได้มีการเซ็นสัญญาเมื่อปีที่ผ่านมา ได้แก่ ลูกค้าอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และไทย ส่งผลให้รายได้รวมของ THCOM ลดลงไม่มากนัก
ในปี 60 ไทยคมได้มีการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและสินทรัพย์ดาวเทียมที่ดำเนินการภายใต้สัมปทาน จำนวน 3,309 ล้านบาท ซึ่งเป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายทางบัญชี ไม่ได้มีผลกระทบต่อเงินสดของไทยคม ทำให้คาดว่าค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของไทยคมจะลดลงปีละประมาณ 868 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 61 จนถึงเดือนกันยายนปี 64 (สิ้นสุดสัมปทาน)
สำหรับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม คือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) มีการประมาณการว่ารายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เพิ่มขึ้น 7-8% จากปี 60 โดยเป็นการเติบโตของรายได้จากการเข้าซื้อกิจการของซีเอสแอล ร้อยละ 2 ขณะที่รายได้จกการให้บริการปกติยังเติบโตต่อเนื่องจากลูกค้าที่มียอดใช้งานสูง การนำเสนอแพคเกจที่ดึงดูดใจและการผสานบริการทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบ้านไว้ด้วยกัน โดยมีการเงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 3.5-3.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเพื่อรองรับการใช้งาน 4G ที่มากขึ้น และเพื่อรองรับการขยายธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
ขณะที่ประมาณการอัตรา EBITDA margin ในช่วง 45-47% จากรายไดที่เพิ่มขึ้น และการควบคุมต้นทุน ส่วนนโยบายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิเพื่อรักษาสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งและมีความคล่องตัวเพื่อสรร้างการเติบโตในอนาคต
นอกจากนี้บริษัทมีวงเงินงบประมาณสำหรับการลงทุนบริษัทร่วมลงทุน เวนเจอร์ แคปปิตอล ไม่เกินปีละ 200 ล้านบาท ส่วนการจ่ายเงินปันผลจะพิจารณาจ่ายจากเงินปันผลส่วนใหญ่ที่บริษัทได้รับจากบริษัทร่วมและบริษัทย่อยหลังหักค่าใช้จ่าย
ปัจจุบัน บริษัทร่วมลงทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารของโครงการอินเว้นท์มีทั้งสิ้น 11 บริษัท ใช้เ งินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 366 ล้านบาท (ไม่รวมสินทรัพย์ที่ขายออกไป) โดยบริษัทร่วมลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าที่สูงขึ้นถึงกว่า 500 ล้านบาท ณ สิ้นปี 60 ซึ่งอินทัชคาดว่าจะสร้างมูลค่าบริษัทร่วมลงทุนให้เติบโตขึ้นด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตของรายได้และกำไร พร้อมทั้งหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่สำหรับการหาเงินลงทุนรอบต่อไป(next round funding)
ทั้งนี้ อินทัชยังคงมุ่งมั่นในการหาบริษัทร่วมลงทุนในกลุ่มโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจในระยะยาว ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า เป็นการรับรู้ผลกำไรจากบริษัทร่วมค้า ได้แก่ แอลทีซี และไฮ ช็อปปิ้ง ทั้งนี้ แอลทีซี เป็นการร่วมค้าทางอ้อมที่ลงทุนโดยไทยคม โดยรักษาความเป็นผู้นำที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุดที่ 57% ณ สิ้นปี 60 เพิ่มขึ้นจาก 53.7% ณ สิ้นปี 59 จึงทำให้มีรายได้และผลกำไรที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้จากอินเทอร์เน็ตซิม จึงทำให้ไทยคมรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนดังกล่าวที่ 196 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
ไฮ ช็อปปิ้ง มียอดขายเฉลี่ยต่อวันในปี 60 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านบาท จากประมาณ 1 ล้านบาทในปี 59 ซึ่งปัจจัยผลักดันการเติบโตนอกจากการนำเสนอสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด ไฮ ช็อปปิ้งได้พิ่มกลยุทธ์การขยายช่องทางการจำหน่าย ทั้งการซื้อช่วงเวลาบนช่องรายการโทรทัศน์ที่ไดรั้บความนิยม การร่วมมือกับร้านค้าออนไลน์ที่มีจำนวนลูกค้าติดตามจำนวนมาก เช่น Lazada, 11street หรือ Shopee ทำให้จำนวนผูรั้บชมและลูกค้า เห็นสินค้าของไฮ ช็อปปิ้ง มากขึ้น
สำหรับปีนี้ ไฮ ช็อปปิ้งตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายเฉลี่ยต่อวันไว้ที่ประมาณ 2.5 ล้านนบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 39% โดยปัจจัยผลักดันการเติบโตจะมาจากการเข้า ถึงจำนวนลูกค้ามากขึ้น ด้วยการเพิ่มช่องทางการนำเสนอสินค้าผ่านการซื้อช่วงเวลาบนช่องโทรทัศน์ที่มีผู้รับชมจำนวนมาก การเพิ่มจำนวนสินค้าขายดีให้มากขึ้น กระตุ้นการซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น และการร่วมมือระหว่างบริษัทในกลุ่มโดยเฉพาะกับเอไอเอสและกลุ่มบริษัทภายใต้โครงการอินเว้นท์