ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 299,099.91 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 74,774.98 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 27% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 71% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 212,038 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่า การซื้อขายเท่ากับ 67,321 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 8,875 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้ง หมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB226A (อายุ 4.1 ปี) LB206A (อายุ 2.2 ปี) และ LB22DA (อายุ 4.6 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อ ขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 12,228 ล้านบาท 8,674 ล้านบาท และ 8,005 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด รุ่น TAA205A (A-) มูลค่าการซื้อขาย 464 ล้านบาท หุ้นกู้ของ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) รุ่น BH21DA (A+) มูลค่าการซื้อขาย 447 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT22OA (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 444 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-3 bps. ปัจจัยต่างประเทศ ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เมื่อวันที่ 2 พ.ค. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ระดับ 1.50-1.75% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. โดยระบุว่า อัตราเงินเฟ้อกำลังเข้าใกล้ระดับ 2% และการปรับตัวของเศรษฐกิจได้สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ประกอบกับรายงานตัวเลขประมาณการ GDP ของสหรัฐฯ ครั้ง ที่ 1 ประจำไตรมาส 1/2561 อยู่ที่ระดับ 2.3% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ระดับ 2.0% ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเพิ่มวงเงินประมูลพันธบัตร ระยะสั้นรุ่นอายุ 3 เดือน และ 6 เดือน ในรอบการประมูลของวันที่ 15 พ.ค. นี้ เป็นรุ่นละ 35,000 ล้านบาท จากเดิมที่ระดับ 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้ตลาดติดตามรายงานเงินเฟ้อของ สหรัฐฯ (10 พ.ค.)
สัปดาห์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.– 4 พ.ค. 2561) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 12,851 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 6,941 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 4,553 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมด อายุ (Expired) 1,357 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (30 เม.ย. - 4 พ.ค. 61) (23 - 27 เม.ย. 61) (%) (1 ม.ค. - 4 พ.ค. 61) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 299,099.91 411,065.88 -27.24% 7,535,750.21 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 74,774.98 82,213.18 -9.05% 90,792.17 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 107.26 107.34 -0.07% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 105.57 105.64 -0.07% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (4 พ.ค. 61) 1.15 1.38 1.44 1.68 1.96 2.64 3.02 3.39 สัปดาห์ก่อนหน้า (27 เม.ย. 61) 1.13 1.35 1.42 1.65 1.95 2.62 3.03 3.38 เปลี่ยนแปลง (basis point) 2 3 2 3 1 2 -1 1