นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า กรุงศรี ออโต้ ตั้งเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจใน สปป.ลาวตามแผนระยะกลางช่วงปี 61-63 สินเชื่อใหม่จะเติบโตเฉลี่ย 27% ต่อปี ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างจะเพิ่มขึ้น 31% ต่อปี
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 61 กรุงศรี ออโต้ ปล่อยสินใหม่ไปแล้ว 1.2 พันล้านบาท
บริษัทมองว่าตลาดสินเชื่อยานยนต์ใน สปป.ลาว ยังมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากปัจจัยหนุนของกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าปีนี้ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ของ สปป.ลาวจะเติบโตราว 7% จากการส่งออกพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น โครงการรถไฟจีน-ลาว อีกทั้งผู้บริโภคยังมีแนวโน้มเลือกใช้สินเชื่อยานยนต์เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนของผู้ซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดและสินเชื่ออยู่ที่ 40:60
นายไพโรจน์ กล่าวว่า กรุงศรี ออโต้ เริ่มดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 57 ภายใต้บริษัท กรุงศรี บริการเช่าสินเชื่อ จำกัด แบรนด์กรุงศรี ลีสซิ่ง โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ย 97% ต่อปี จากผลิตภัณฑ์กรุงศรี นิวคาร์ และกรุงศรี เฟิสช้อยส์ ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงค้างรวมอยู่ที่ 4.45 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 60
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาวจะเน้นการขยายธุรกิจผ่าน core business เป็นหลัก โดยจะมีการขยายตลาดและขยายฐานลูกค้า พร้อมกับเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาเพื่อเสริมศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจใน สปป.ลาว
สำหรับโอกาสในการดำเนินธุรกิจของกรุงศรี ออโต้ ใน สปป.ลาว ยังมีโอกาสในการขยายตัวได้มาก จากความนิยมใช้สินเชื่อรถยนต์เพิ่มขึ้นหลังยอดขายรถยนต์เมื่อ 5 ปีก่อนถึงปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นมาเป็น 60% ในปัจจุบัน หรือมียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 22,099 คัน โดยมีมูลค่าสินเชื่อยานยนต์ปี 60 ที่ 1 หมื่นล้านบาท โดยที่การใช้สินเชื่อของประชาชนมากขึ้น หลังจากที่มีสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานในการบริการ
อนึ่ง กรุงศรี ลีสซิ่ง ให้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์ใหม่ สินเชื่อเช่าซื้อรายย่อย และล่าสุดได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์มือสองไปเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีช่องทางการให้บริการที่สำนักงานใหญ่ นครหลวงเวียงจันทน์ และสาขาเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ซึ่งสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 7 แขวงใหญ่ของสปป.ลาว ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์ จำปาสัก สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ บอลิคำไซ เซียงขวาง และหลวงพระบาง โดยมีฐานลูกค้าที่ให้บริการรวมทั้งสิ้น 14,657 ราย แบ่งเป็นลูกค้าที่ไช้บริกรสินเชื่อยานยนต์ 68% และสินเชื่อส่วนบุคคล 32%
"ด้วยประสบการณ์การให้บริการสินเชื่อยานยนต์ในประเทศไทยมากกว่า 25 ปี กรุงศรี ออโต้ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในสปป.ลาว ด้วยการสร้างบุคคลลกรรองรับตลาดเช่าซื้อ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ ตลอดจนการดำเนินตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ"นายไพโรจน์ กล่าว
สำหรัลการขยายธุรกิจของกรุงศรี ออโต้ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง ทำให้ธนาคารมองโอกาสในการเข้าไปขยายตลาด โดยที่ปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจในสปป.ลาว มาแล้ว 3 ปี และในกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ อยู่ระหว่างการศึกษาการนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เข้าไป จากปัจจุบันที่ Hattha Kaksekar Limited (HKL) ในกัมพูชาที่ BAY ซื้อกิจการมาดำเนินธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ ส่วนในเมียนมาและเวียดนามอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรเพื่อเข้าไปลงทุน
นายไพโรจน์ กล่าอีกว่า ธนาคารยังไม่ปิดโอกาสที่จะเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติม หากมีผู้ประกอบการเดิมต้องการขาย ซึ่งได้มีการเจรจามาก่อนหน้านี้แต่ดีลได้ยกเลิกไปก่อน โดยการเจรจาจะพิจารณาลักษณะการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารเป็ฯหลัก และคุณภาพของสินเชื่อของกิจการที่จะซื้อต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคาร
ด้านแนวโน้มการเติบโตของยอดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ปล่อยใหม่ในประเทศไทยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาทำได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากที่ยอดขายรถยนต์ไนประเทศไทย 4 เดือนที่ผ่านมาเติบโต 12% และมีการปรับเป้ายอดขายรถยนต์ไนประเทศทั้งปี 61 เพิ่มสูงกว่า 4-5% ทำให้ธนาคารมองว่าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เป็นสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งปีจะมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เติบโต 4% มาเป็นเติบโตมากกว่า 10% ซึ่งธนาคารมองว่าได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ดีมากกว่าที่คาดไว้ 3.5-4% มาเป็นกว่า 4% และกำลังซื้อของประชาชนเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น การส่งออกและการท่องเที่ยวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลบวกต่อการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น และหนุนให้การปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ขณะที่ในด้านคุณภาพหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั้น ธนาคารยังควบคุมให้อยู่ในระดับที่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือมีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ไม่เกิน 2% และจะควบคุมให้ไม่เกิน 2% ในสิ้นปีนี้
ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค โดยให้มีการคิดดอกเบี้ยจากผู้เช่าซื้อในแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) จากเดิมที่ผู้ให้บริการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) และให้มีการชี้แจงรายละเอียดแนบท้ายสัญญา ตลอดจนให้คิดเบี้ยปรับกรณีชำระช้าได้ไม่เกิน 15% ของยอดเงินคงค้าง ลดลงจากที่กฎหมายของธุรกิจเช่าซื้อให้คิดได้ที่ 17% ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อใหม่ และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 61 เป็นต้นไป ธนคารมองว่าส่งผลกระทบต่อด้านการบริหารจัดการในเรื่องการจัดทำเอกสารสัญญาใหม่ที่จะต้องมีการเปลี่ยนให้กับลูกค้า โดยที่ธนาคารมีความพร้อมในการจัดทำสัญญาใหม่ใหมสอดคล้องกับพ.ร.บ. ส่วนในแง่ผลการดำเนินงานนั้นยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบ