*PTT, SGP, WP
-นสพ.รายงาน ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ ปตท. อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการบรรเทาผล กระทบค่าครองชีพของประชาชน ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 61 ตามโครงการบรรเทาผลกระทบจากการปรับราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน โดยขยายอายุโครงการถึงเดือนธ.ค. 61 ในวงเงิน 500 ล้านบาท
*กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์
-นสพ.รายงาน "พาณิชย์" ถกเอกชนกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ติวเข้มข้อมูลชี้แจงสหรัฐฯ หลังเปิดไต่สวนขึ้นภาษีนำเข้า ยันส่งออกไทยไม่กระทบอุตสาหกรรมภายใน ไม่ได้เป็นภัยคุกคาม มีแต่ช่วยสนับสนุนการเติบโต คาดสหรัฐฯ สรุปผลการพิจารณา มี.ค.62 และส่งให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสิน เผยเครื่องซักผ้าและแผงโซลาร์ ที่เจอมาตรการก่อนหน้า ได้รับผลกระทบ แล้ว ยอดส่งออกลดลง แต่เหล็กและ อะลูมิเนียม ยังขอยกเว้นภาษีได้
*THAI
-นสพ.รายงาน "ไทยสมายล์" ปรับกลยุทธ์หลังรายได้ไตรมาส 1 พลาดเป้า เน้นขายตั๋วตรงกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และลูกค้าต่างชาติต่อเครื่องในประเทศ จับมือ ททท. เปิดแคมเปญเที่ยวไทย Take a Break
*PTTEP
-นสพ.รายงาน เข้าซื้อหุ้นในแหล่งบงกช 22.2222% ซึ่งได้ลงนามในสัญญาการโอนสิทธิสัมปทานเมื่อเดือน ม.ค. 2561 มีผลสมบูรณ์แล้ว โดยได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 61 และทุกฝ่ายได้ ลงนามในสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมแล้วเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 61 ส่งผลให้ ปตท.สผ. มีสัดส่วนการลงทุนในแหล่งบงกชเพิ่มขึ้นเป็น 66.6667% ด้วยมูลค่าก่อนภาษีประมาณ 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.4 หมื่นล้านบาท
*กลุ่มอสังหาฯ
-นสพ.รายนงาน คณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีการประชุมในวันที่ 22 มิ.ย.นี้เพื่อพิจารณาว่ากฎหมายภาษีที่ดินจะใช้ในปี 62 หรือ 63 เพราะขณะยังมีรายละเอียดของกฎหมายที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกหลายประเด็น ทำให้ต้องขยายเวลาการพิจารณาของคณะกรรมาธิการมาหลายครั้ง
*กลุ่มแบงก์
-นสพ.รายงาน ธปท.พร้อมพิจารณาปรับเรื่องการขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอเรนซี 5 ข้อ ให้สอดคล้องกับกฎหมายและประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลไอซีโอของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
*TACC
-นสพ.รายงาน มั่นใจครึ่งปีหลังผลประกอบการมีแนวโน้มดีขึ้น หลังไตรมาส 2 เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ จากแก้ปัญหาผลกระทบภาษีน้ำตาลจบแล้ว เตรียมออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง ขณะธุรกิจตัวแทนลิขสิทธิ์ Rilakkuma คึก หนุนรายได้เติบโตอีกทาง ด้าน "สยาม เกตเวย์" เดินหน้าตามแผน ส่วนธุรกิจในกัมพูชาพิจารณาปรับแผน
*ARIP, COM7, IT, JMART, BIG
-นสพ.รายงาน เออาร์ไอพี ผู้จัดงานคอมมาร์ต มองภาพรวมกลุ่มสินค้าไอทีครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มว่าการเติบโตจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อสินค้าไอทีครึ่งปีแรกมีสัญญาณที่ดี และคาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีปัจจัยบวกจากการตัดสินใจซื้อสินค้าไม่ได้พิจารณาด้านราคาถูก แต่มองว่าสินค้าที่มีมูลค่าและราคาที่เหมาะสมมากกว่า และในช่วงครึ่งปีหลังค่ายมือถือต่างๆ เปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ๆ ลงสู่ตลาด
*TITLE
-นสพ.รายงาน ลุยซื้อที่ดิน "หาดบางเทา" หนุนบริษัทมีทำเลในภูเก็ตครบทั้ง "ตอนเหนือ-กลาง-ใต้" รองรับแผนพัฒนาโครงการในอนาคต 6-10 ปี มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท
*META
-นสพ.รายงาน ขายเงินลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ในญี่ปุ่น 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 23.40 เมกะวัตต์ ให้ "Scarlet Maple Investments" มูลค่ากว่า 87 ล้านบาท ฟันกำไรเข้ากระเป๋ากว่า 41 ล้านบาท
*PLE
-นสพ.รายนงาน แย้มงบไตรมาส 2 โตไม่หยุด จ่อบุ๊กงานในมือเพียบ หลังตุนแบ็กล็อกเต็มมือ 1.34 หมื่นล้านบาท มั่นใจปีนี้รายได้พุ่ง 8 พันล้านบาท พร้อมเตรียมประมูลงานอีก 5 หมื่นล้านบาท หนุนรายได้ปีหน้าทะยานหมื่นล้านบาท
*PK
-นสพ.รายงาน คาดไตรมาส 2/61 ยอดขายฟื้นตัว พร้อมรัดเข็มขัดการลงทุน-ต้นทุน ทั้งในและต่างประเทศหวังอัพมาร์จิ้น ช่วงครึ่งหลังปี 61 อยู่ในระดับ 4.96% กอด Backlog กว่า 2 พันล้านบาท คาดทยอยรับรู้ทั้งหมดปีนี้ มั่นใจรายได้สิ้นปี 61 แตะ 5 พันล้านบาทตามเป้า
*THANI
-นสพ.รายงาน คาดครึ่งปีแรกโตกว่าปีก่อน มั่นใจพอร์ตสินเชื่อปีนี้ โตทะลุ 4 หมื่นล้านบาท เหตุจากลงทุนภาครัฐ เอกชน ขยายตัว ดันความต้องการใช้รถบรรทุกเพิ่มขึ้น เผยกำลังศึกษาปล่อยกู้ รถมินิบัส, เรือ และเครื่องบิน คาดเห็นสัดส่วนรายได้กลุ่มนี้ชัดเจนในปี 62
TRUE, ADVANC
-นสพ.รายงาน ในเดือน ก.ค.นี้ สำนักงาน กสทช.จะเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในช่วงระหว่างรอการประมูลตั้งแต่ 15 ก.ย.56 ของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เมื่อ 30 ก.ย.58 ของเอไอเอส จนถึงการประมูลเสร็จสิ้น และออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้กับผู้ชนะการประมูลรายใหม่ในช่วงปลายปี 59 เพื่อนำรายได้ดังกล่าวส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้คู่สัญญาสัมปทานคือ ทีโอทีและ บริษัท กสท โทรคมนาคม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเช่าใช้โครงข่ายในระยะเวลารอการประมูลเสร็จสิ้น