ดังนั้นด้วยปัจจัยต่างประเทศดังกล่าวที่ยังกดดัน จึงยังไม่ชัดว่าแรงขายหุ้นของนักลงทุนจะสิ้นสุดเมื่อใด แรงขายล่าสุดก็เกิดจากความกังวลเรื่องค่าเงินอ่อน ซึ่งเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เป็นตลาดที่มีแรงขายมากถึง 4% (MSCI World Index ลดลง 2%) และคาดว่าแรงขายจะยังคงมีอยู่ จึงมองว่าตลาดมีโอกาสเกิดรีบาวด์ หากไม่หลุดแนวรับสำคัญที่ 1,634 จุด
ความเสี่ยงของตลาด คือ สงครามการค้าจะรุนแรงขึ้นหรือเบาลง แรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ และค่าเงินบาท แต่ด้วยความแข็งแรงของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) และกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นไทย รวมไปถึงราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมามาก มีโอกาสที่จะเกิดแรงซื้อกลับ และประเมินว่าข่าวหรือปัจจัยในเชิงลบเหล่านี้ สะท้อนเข้ามาในดัชนีฯมากในระดับหนึ่งแล้ว แม้โอกาสที่ดัชนีฯจะกลับขึ้นไปหา 1,800 จุด จะไม่ง่าย แต่ที่ระดับ 1,690 จุด นั้น มองว่าสามารถขึ้นไปได้ไม่ยากนัก
สำหรับกลยุทธ์ในลงทุนสัปดาห์นี้ นักลงทุนอาจเตรียมพร้อมที่ขาย หากมีแรงขายกลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง ประเมินว่า ดัชนีฯ จะมีแนวรับที่แข็งแรงที่ระดับ 1,600 จุด จากดัชนีฯที่ซื้อขายที่ที่ระดับ forward P/E เพียง 15.2 เท่า ซึ่งค่อนข้างต่ำ ดังนั้น หากดัชนีฯปรับตัวลง น่าจะเป็นจังหวะของการเข้าซื้อหุ้นบางตัวที่มีความแข็งแรง ไม่อ่อนไหวไปตามตลาดมากเกินไป เช่น BBL ,KKP, EPG รวมถึง หุ้นที่อิงการลงทุนและนโยบายภาครัฐฯ คือ AMATA , CK ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมัน แนะนำ PTTEP, PTT และหุ้นที่ผันผวนน้อยให้ผลตอบแทนปันผลที่ดี แนะนำ LH และ QH ที่ให้ผลตอบแทนด้านเงินปันผล 5-6% ต่อปี KTBST คาดกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ 1,600-1,690 จุด