นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะย่อตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่ติดลบกัน เนื่องจาก Fund Flow ยังไหลออกอยู่ โดยมีปัจจัยหลักมาจากต่างประเทศที่ยังมีความเสี่ยงอยู่จากแรงกดดันสงครามการค้า ซึ่งต้องรอความชัดเจนไปถึงต้นเดือน ก.ค. ที่ทางจีน และสหรัฐฯจะเจรจากันได้ดีขึ้นหรือไม่
ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ค่าเงินในเอเชียวันนี้ต่างอ่อนค่ากันทั่วหน้า แม้แต่เงินบาทก็อ่อนค่าลงมาทะลุ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ Fund Flow ยังคงไหลออกจากเอเชีย
อย่างไรก็ดี คาดหวังว่าการทำ Window Dressing ก่อนปิดงบฯ จะช่วยประคองตลาดฯได้บ้าง แม้ว่าอาจจะช่วยไม่ได้มากก็ตาม พร้อมให้แนวรับ 1,608 จุด ส่วนแนวต้าน 1,640 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (27 มิ.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,117.59 จุด ร่วงลง 165.52 จุด (-0.68%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,445.08 จุด ลดลง 116.54 จุด (-1.54%), ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,699.63 จุด ลดลง 23.43 จุด (-0.86%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 76.58 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 13.28 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 11.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 31.61 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 14.66 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 8.85 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 6.91 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (27 มิ.ย.61) 1,618.66 จุด ลดลง 5.32 จุด (-0.33%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,686.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (27 มิ.ย.61) ปิดที่ 72.76 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 2.23 ดอลลาร์ หรือ 3.2%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (27 มิ.ย.61) ที่ 3.85 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 33.04 อ่อนค่าจากเย็นวานนี้ ยังวิตกสงครามการค้า มองกรอบวันนี้ 32.95-33.10
- พาณิชย์เตรียมหารือรับมือ เหล็กจีนสวมไทยส่งออกไปสหรัฐ 2 ก.ค.นี้ เอกชนห่วงไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กมากขึ้น แนะ กรมศุลกากรตรวจสอบบริษัทที่นำเข้าเหล็กจากจีน ด้าน สศอ.ชี้โอกาสเกิดยากมีเอกสารรับรองหลายชั้น
- กบข.ประเมินตลาดหุ้นมีแนวโน้มผันผวนต่อ จากความกังวลประเด็นสงครามการค้า และการปรับขึ้น ดอกเบี้ยของเฟด แนะสมาชิกเปลี่ยน แผนลงทุน เป็นแผนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งตลาดเงิน และตลาดตราสารหนี้ หากกังวลผลกระทบระยะสั้น ยอมรับ หุ้นไทยที่ลงไป 5.3% กระทบผลตอบแทน แต่ที่ผ่านมาได้ปรับพอร์ตลงทุนเพื่อ ลดผลกระทบล่วงหน้าแล้ว
- ภาพรวมตลาดรถยนต์ 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) มีสัญญาณบวกจากผู้บริโภคเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่มากขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการรถคันแรก ประกอบกับเศรษฐกิจฟื้นตัว อาทิ เมกะโปรเจกต์ อีอีซี มีความคืบหน้าอย่างชัดเจน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในการใช้จ่ายที่ดีขึ้น
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ปรับประมาณการการเติบโตของจีดีพีภาคอุตสาหกรรมปี 2561 อยู่ที่ 3-4% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 2-3% เนื่องจากมีปัจจัยทั้งการส่งออกและการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มอุตสาหกรรมภาพรวมขยายตัว ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ปีนี้ยังคงเป้าหมายเดิมไว้ที่ 2.5-3%
- ทีมวิจัยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทำการทบทวนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจอาเซียน และไทย ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 โดยยังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย จึงได้คงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทย อยู่ที่ 4.3% ตามที่ได้ประมาณการไว้ตั้งแต่ช่วงต้นปี
*หุ้นเด่นวันนี้
- EPG (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 12 บาท ปีนี้ EPP (บรรจุภัณฑ์พลาสติก) จะดีขึ้นเพราะการแข่งตัดราคาลดลง Aeroflex (ฉนวนยาง) จะได้แรงหนุนจากโครงสร้างพื้นฐาน และ Aeroklas (ชิ้นส่วนรถยนต์) จะมีการออกสินค้าใหม่เพิ่ม อีกทั้ง ในระยะสั้นทั้ง 3 ธุรกิจจะได้ประโยชน์จากเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าด้วย โดยคาดกำไรปี 61/62 (เม.ย.61 – มี.ค.62) ที่ 1,251 ลบ. +26% Y-Y และคาด +17% Y-Y ทำจุดสูงสุดใหม่ในปี 62/63 ที่ 1,460 ล้านบาท
- MINT (เออีซี) "ซื้อ"เป้า 50 บาท ช่วง Q2/61 คาดกำไรโต YoY จากความแข็งแกร่งของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในไทย ส่วนทั้งปี 61 คาดมีกำไรสุทธิ 6,094 ล้านบาท โต 12.5%YoY ซึ่งประมาณการยังไม่รวมแผนซื้อหุ้น NHH ซึ่งยังไม่ทราบสัดส่วนถือหุ้นแน่ชัด (ประชุมผู้ถือหุ้น 9 ส.ค.) อย่างไรก็ดีคาดยังไม่ต้องเพิ่มทุนและจะช่วยต่อยอดธุรกิจโรงแรม ระดับโลก พร้อมช่วยผลักดันการเติบโตของผลกำไรให้แก่ MINT ได้ในระยะยาว และราคาหุ้นมี Upside 52.7%
- PTTEP (ไอร่า) ปรับเป้าเพิ่มเป็น 159 บาท แนวโน้มราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูง ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของ PTTEP ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และ PTTEP อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าประมูลแหล่งผลิตที่จะหมดอายุสัมปทาน โดยเฉพาะแหล่งบงกชที่ PTTEP เป็นเจ้าของสัมปทานเดิม และได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากเชลล์อีกประมาณ 22% รวมเป็น ประมาณ 66.67% คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้กับ PTTEP ได้อีก 35,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งทางกระทรวงพลังงานออก TOR เพื่อรองรับการประมูล และคาดว่าจะใช้เวลา 7-8 เดือนจึงจะทราบผลการประมูลในช่วงเดือน ธ.ค.61 จึงคาด PTTEP มีความได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่น
- KKP (เอเอสแอล) "ซื้อ"เป้า 78.7 บาท ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่เติบโตดี รวมไปถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 61 หนุนแนวโน้มของพอร์ทสินเชื่อโตดี YoY ส่วนอัตราเงินปันผลที่ระดับสูงโดดเด่นเหมาะสำหรับในช่วงที่บรรยากาศโดยรวมค่อนข้างผันผวน โดยล่าสุด IAA Consensus ได้ให้ไว้ที่ 7.6%