นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม (THCOM) เปิดเผยว่า บริษัทได้ตกลงอย่างไม่เป็นทางการพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนธุรกิจดาวเทียม เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 4, 5 และ 6 ใกล้สิ้นสุดสัญญาสัปมทานกับรัฐบาลไทย โดยการร่วมมือกับพันธมิตรน่าจะเป็นลักษณะขยายการใช้ดาวเทียมดวงเดิมที่ใช้เงินลงทุนและระยะเวลาน้อยกว่าการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งจะสามาถรยืดอายุการใช้งานดาวเทียมดวงเดิมได้อีก 5 ปี
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังรอคำตอบจากภาครัฐว่าจะมีแผนงานรองรับอย่างไรหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 64 โดยคาดว่าปีนี้น่าจะได้รับคำตอบ
"บริษัทได้มีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับพันธมิตรในภูมิภาคและมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งไทยคมต้องเดินต่อไปได้ ไม่ใช่รอถึง2021 (ปี 64) ...บทสรุปไทยคมต้องอยู่ได้ โดยจะรอภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้"นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า แนวทางที่ร่วมมือกับพันธมิตรในภูมิภาคนี้มีความเป็นได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับทางเลือกอื่น ทั้งการลงทุนเอง ทั้งหมด ซึ่งมองว่ามีความเสี่ยงสูงเกนไป หรือ การร่วมลงทุนกับ Global Player อย่างไรก็ดีมองว่าหาก Global Player ต้องการลงทุนในไทยก็ต้องหา Local Partner เพราะเรื่องดาวเทียมเกี่ยวข้องกับความมั่นคง และมีเพียงไทยคมที่ดำเนินธุรกิจดาวเทียมในไทย ซึ่งบริษัทยังเปิดกว้างอยู่
ขณะที่ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ก็ยังคงรอซึ่งอยู่ขั้นตอนอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาทการอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตหรือสัมปทาน โดยหากต้องนำไปสู่การเจรจาสัญญาสัมปทาน แนวโน้มอาจจะใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม บริษัทก็อาจโยกย้ายลูกค้าออกจากดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ไปที่ดาวเทียมใหม่
นายอนันต์ ยังกล่าวว่า บริษัทมีเงินสดในมือที่ 6,874 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 2/61 โดยจะให้ความสำคัญกับการลงทุนก่อน (Future Investment) รองลงมา การชำระหนี้ระยะยาว และกันไว้จ่ายเงินปันผล ทั้งนี้บริษัทได้เดินหน้าขยายธุรกิจใหม่ในกลุ่ม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ,เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Robotic)Robotic และ Drone โดยเป้าหมายระยะยาว บริษัทพยายาม diversify เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทมีเสถียรภาพ
นายปฐมภพ สุวรรณศิริ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการค้า THCOM คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลังแนวโน้มธุรกิจดาวเทียมใกล้เคียงครึ่งปีแรก โดยอัตราการใช้ดาวเทียมทรงตัว โดยคาดว่าอัตราการใช้ดาวเทียมไทยคม 4 (iPStar) ซึ่งรองรับบรอดแบนด์มีสัดส่วน 30% และ ดาวเทียมแบบทั่วไป (ไทยคม 5, 6, 7,8 ) มีอัตราการใช้ 59%
โดยในไตรมาส 2/61 บริษัทได้ลูกค้าจากฟิลิปปินส์เพิ่ม โดยเป็นการให้บริการสัญญาณดาวเทียมบรอดแบนด์กับบริษัท วี อาร์ ไอที ฟิลิปปินส์ จำกัด (ดับเบิลยูไอที) ผู้นำการให้บริการบรอดแบนด์ในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีอัตราการใช้ 4%ของไทยคม 4 นอกจากนี้ KDDI จากญี่ปุ่นได้เพิ่มแบนด์วิธอีก 1% ทำให้อัตราการใช้ดาวเทียมไทยคม 4 ในส่วนญี่ปุ่นเต็มอัตราที่ 7%
และในครึ่งหลังปี 61 และในปี 62 มีแนวโน้มการใช้ดาวเทียมมากขึ้น จากตลาดอินเดีย ที่มีแนวโน้มการเติบโตจะเพิ่มการใช้แบนด์วิธ โดยปัจจุบันอินดียมีอัตราการใช้ 5% ของช่องสัญญาณไทยคม 4 โดยอินเดียมี capacity ที่กันไว้ 16% ของช่องสัญญาณไทยคม 4 ส่วนในจีน บริษัทได้เจรจาพันธมิตรหลายรายหลังจากยกเลิกสัญญากับ บริษัท ซีเนอร์โทน คอมมิวนิเคชั่น คอร์ปอเรชั่น
นอกจากนี้ รัฐบาลบังคลาเทศให้ THCOM เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจดาวเทียม ทำให้มีรายได้เพิ่มในครึ่งหลังปี 61 นอกเหนือจากการขายแบนด์วิธ
ส่วนธุรกิจใหม่ ได้แก่ การให้บริการบรอดเบนด์ความเร็วสูงทางทะเล หรือ NAVA Service ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ 39 ลำ โดยล่าสุดกองทัพเรือได้ลงนามสัญญา จำนวน 12 ลำ และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะได้เพิ่มเป็นประมาณ 100 ลำ