โรงพยาบาลพระรามเก้า ประกาศปรับภาพลักษณ์องค์กร (Rebranding) และกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 26 ปี พร้อมประกาศจุดยืน (Brand Positioning) ใหม่ในฐานะ "โปรเฟสชันแนลเฮลท์แคร์คอมมูนิตี้" (Professional Healthcare Community) ศูนย์รวมเพื่อสุขภาพและการใช้ชีวิตที่พร้อมมอบบริการบำรุงรักษาสุขภาพในแบบฉบับมืออาชีพแก่คนทุกวัยทุกไลฟ์สไตล์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจของโรงพยาบาล
นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ รองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ) บมจ.โรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผยว่า บริษัทมองเห็นถึงการคว้าโอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการ โดยปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ จากการเป็นโรงพยาบาลที่มอบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยในระยะที่อาการรุนแรงแล้ว สู่การเป็น Professional Healthcare Community ที่มอบบริการการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลแบบองค์รวมอย่างเต็มรูปแบบและไร้รอยต่อในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นคอมมูนิตี้สำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพใจกลางเมือง ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของทุกคน
โดยวาง 5 กลยุทธ์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ประกอบด้วย
1. ขยายเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรงพยาบาลพระรามเก้ามีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในหลายภูมิภาคของประเทศ ทั้งจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี จันทบุรี ตรัง อุบลราชธานี ชุมพร และนครสวรรค์ ที่จะทำการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตมาที่โรงพยาบาลพระรามเก้าเพื่อเข้ารับการรักษาที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองเฉพาะทางในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนไต จากมาตรฐานระดับโลก "JCI" นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศเพื่อส่งผู้ป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลพระรามเก้า โดยมีสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์ที่โดดเด่นและบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายเป็นปัจจัยดึงดูด
2. ทุ่มงบกว่า 2,000 พันล้านบาท สร้างอาคารใหม่สูง 16 ชั้น อาคารใหม่ของโรงพยาบาลฯ จัดสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดCo-Healthy Space เพื่อรองรับการขยายขอบเขตบริการทางการแพทย์และจำนวนผู้ใช้บริการที่เติบโตสูงขึ้น โดยอาคารแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมทางการแพทย์ที่มีเครื่องมือทันสมัย ให้บริการระดับพรีเมี่ยม ทั้งในด้านการดูแลสุขภาพรักษาพยาบาล และบริการด้านไลฟ์สไตล์ เช่น ร้านค้าเพื่อสุขภาพและความงาม ส่วนจัดแสดงนิทรรศการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและ Co-working Space ขณะนี้อาคารใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในช่วงไตรส 4/62
ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลยังมีแผนการปรับปรุงอาคารปัจจุบัน ให้มีบรรยากาศทันสมัยและรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคซับซ้อน และผู้ป่วยภาวะวิกฤติ (ICU และ CCU) โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนเตียงจดทะเบียน จาก 166 เตียงในปัจจุบัน เป็นประมาณ 313 เตียงได้ในปี 65
3. ขยายขอบเขตการให้บริการ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion & Wellness) ให้ครอบคลุมไปถึง การส่งเสริมสุขภาพ การตรวจหาโรค การประเมินความเสี่ยงและลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ การบำบัดฟื้นฟูหลังอาการป่วย ไปจนถึงบริการด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ โดยจะดำเนินการต่าง ๆ เช่น จัดตั้งศูนย์สุขภาพเส้นผม ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมความงาม ศูนย์รักษาอาการปวดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ตรวจสุขภาพครบวงจรที่พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพในทุกช่วงอายุ รวมไปถึงยกระดับแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้เป็นการดูแลแบบองค์รวม
4. เดินหน้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิตอล (Digital Hospital) ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับบริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานภายในโรงพยาบาล โดยจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานพร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ป่วย โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบที่เรียกว่า "ดิจิตอลเฮลท์" (Digital Health) เช่น โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย (Praram 9 Patient Mobile Application) ห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม (Command Center) อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถใส่ติดตัว (Medical Wearable Device) ที่เสริมความสามารถในการติดตามสถานการณ์ ดูแลป้องกันและเตรียมพร้อมการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสุขภาพและการรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ระยะไกล (Telemedicine)
5. มุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกและการปรับภาพลักษณ์องค์กร เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็น Professional Healthcare Community ผ่านการบูรณาการกลยุทธ์การสื่อสารและการตลาดอย่างรอบด้าน เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ใน Social Media การทำไวรัลวิดีโอ (Viral Video) รวมทั้งการจัดอบรมและสร้างความเข้าใจถึงวิถีการดำเนินธุรกิจและให้บริการภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร (Employee Cultural Transformation หรือ Organization Development) ในกลุ่มคณะแพทย์และบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม (Engagement) กับผู้รับบริการและชูศักยภาพของโรงพยาบาลฯ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสามารถดึงดูดการใช้บริการของลูกค้ากลุ่มใหม่นอกเหนือจากกลุ่มผู้ป่วย สำหรับโลโก้ใหม่ได้มีการปรับสีให้มีความทันสมัยและเป็นมิตรขึ้น โดยที่ยังไม่สูญเสียเอกลักษณ์ดั้งเดิมไป ด้วยการใช้รูปทรงที่ไหลมาบรรจบและตัดขวางกัน เพื่อสื่อถึงการผสานพลังของเครื่อข่ายพันธมิตรทางการแพทย์และความเป็นคอมมูนิตี้
ทั้งนี้ โรงพยาบาลพระราม 9 มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 58, 59 และ 60 มีรายได้รวม 1,996.4 ล้านบาท 2,272.5 ล้านบาท และ 2,455.2 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) 10.9% ต่อปี และในไตรมาสที่ 1/61 โรงพยาบาลฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 653.3 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น 15.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 60 ด้วยจุดแข็งและกลยุทธ์การแข่งขัน โรงพยาบาลพระรามเก้ามั่นใจในศักยภาพการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต
ด้าน นพ.เสถียร ภู่ประเสริฐ รองประธานกรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ความสำเร็จของโรงพยาบาลพระรามเก้าตลอดระยะเวลา 26 ปีที่เปิดให้บริการ มาจากการได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมาอย่างยาวนาน เพราะมีจุดแข็งทั้งความโดดเด่นของสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์ เช่น สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รวมถึงศักยภาพในการรักษาโรคซับซ้อนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งล่าสุดประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยอายุ 80 ปี
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและคุ้มค่า (Value for Money) และสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ (New Central Business District: New CBD) ที่แวดล้อมด้วยชุมชนขนาดใหญ่หลายพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดศูนย์รวมการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นทำเลที่มีศักยภาพ จากการเพิ่มขึ้นของอาคารสำนักงานและโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยโรงพยาบาลพระรามเก้าได้รับความนิยมจากทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเฉพาะชาวเมียนมาและกัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนหรือทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและชาวจีนที่นิยมเข้ามาอาศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของโรงพยาบาล
เมื่อพิจารณาจุดแข็งทั้งหมดประกอบกับสภาวะต่างๆของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในประเทศไทย ทั้งสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อ้างอิงจากข้อมูลในปี 57) ที่ 4.1% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 6.8% สะท้อนว่ายังมีโอกาสการเติบโตอีกในอนาคต ทิศทางการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจาก 10.4 ล้านคนหรือคิดเป็น 15.9% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 58 เป็น 20.5 ล้านคนหรือคิดเป็น 32.1% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 83