นายศิริยศ จุฑานนท์ ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา FinTech ในธุรกิจตลาดทุนเติบโตเป็นอย่างมากทั้งในมูลค่าการลงทุนและจำนวนบริษัท ซึ่ง FinTech ที่เกิดขึ้นได้กระจายไปในหลายส่วนของ Value chain ของธุรกิจตลาดทุน ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1. บริการด้านการระดมทุน (Access to capital) ซึ่งตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่สำคัญ โดยเทคโนโลยีสามารถช่วยให้เกิดนวัตกรรม หรือ Asset class แบบใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของทั้งผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้ลงทุนได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น Crowdfunding, Initial coin offering (ICO) และ Platform สำหรับออกหุ้นกู้ โดย Startup และ SMEs เป็นต้น
2. บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ (Trade execution) โดยเทคโนโลยีช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วย Digital Currency ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมลดลง ช่วยเสริมสภาพคล่อง และมีความปลอดภัยสูง เช่น CME Group เปิดให้มีการซื้อขาย Bitcoin Futures ในปลายปี 60 และตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ที่สร้างระบบการซื้อขายตราสารหนี้บนเทคโนโลยี Blockchain เป็นต้น
3. บริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ (Post-trade service) โดยมีส่วนประกอบหลักคือการทำ Clear security position, Settle payments, Market surveillance, Regulatory compliance ซึ่งเป็นงาน operation หลังบ้านที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและกฎระเบียบเป็นจ นวนมาก ดังนั้นการนำระบบ Automation และ Distributed Ledger Technology (DLT) มาประยุกต์ใช้ท ให้งานบริการ Post–trade รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. บริการด้านวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytic service) เพราะข้อมูลในตลาดทุนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก การนำเทคโนโลยีอย่าง Artificial intelligence (AI) มาช่วยวิเคราะห์และเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจในการลงทุนจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น Algorithm trading, Robo-advisor และ Machine and deep learning และ 5. บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มความโปร่งใส และลดความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
ถึงแม้ว่า FinTech จะเติบโตอย่างรวดเร็วและกระจายไปในหลายภาคส่วนของธุรกิจตลาดทุน แต่ส่วนใหญ่แล้วเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้จะเป็นรูปแบบของการประยุกต์เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานดั้งเดิม ซึ่งเหมือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยมาเสริมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ผู้ให้บริการในธุรกิจตลาดทุนไม่ควรมองข้ามความสำคัญของ FinTech เหล่านี้ เพราะได้เห็นบทเรียนจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่ถูกเทคโนโลยี Disrupt ในส่วนของรายได้จากค่าธรรมเนียมมาแล้ว ธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์นับวันจะมีแนวโน้มที่ลดลงเช่นกัน โดยที่บริการที่อาจได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ FinTech มากที่สุด คือ ด้านการระดมทุนเพราะเป็นส่วนที่ FinTech กระจุกตัวอยู่มากที่สุดในปัจจุบัน
อีกทั้ง FinTech จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในอนาคตมากที่สุดเกี่ยวกับการบริการด้าน Post-trade รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองว่าจะสร้างผลกระทบให้กับธุรกิจตลาดทุนมากที่สุด คือ เทคโนโลยี Advance analytics และ AI ที่จะทำให้ธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์อาจได้รับผลกระทบนี้ได้อีกด้วย
การปรับตัวของธุรกิจตลาดทุนอาจจะเป็นการมอง Startup เป็นเพื่อนมากกว่าศัตรู เพราะมีโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ร่วมกันได้ โดย Startup จะเข้ามาเติมเต็มการให้บริการของผู้ให้บริการรายเดิมในธุรกิจตลาดทุน หรือมีลักษณะเป็น Business-to-business มากกว่ากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ลงไปให้บริการถึงลูกค้ารายย่อย Business-to-customer ที่เกิดขึ้นในธุรกิจการให้คำแนะนำการลงทุนเท่านั้น ซึ่งเป็นการเข้าไปร่วมมือกับ Startup ด้าน FinTech ในรูปแบบการทำ Collaboration agreements และ Joint venture มีโอกาสมากกว่าการเข้าไปลงทุนทางตรงหรือการทำ M&A ซึ่งจุดเด่นของ Startup คือ ความถนัดด้านเทคโนโลยีและสามารถเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แก้ Pain point ลูกค้าได้ตรงจุดกว่า และมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันจากการที่กฏระเบียบยังไม่เข้มงวดมาก แต่ Startup ยังไม่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในตลาดไปได้
นอกเหนือจากกลุ่ม Fintech ที่เป็น Startup แล้ว บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในโลกจะมีบทบาทในเรื่อง Fintech มากที่สุดในอีก 5 ปีข้างหน้า เช่น Amazon Google และ Microsoft ต่างเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ FinTech เช่นกัน เช่น Cloud computing, AI และ Machine learning เป็นต้น ซึ่งธุรกิจตลาดทุนต้องให้ความสำคัญกับเทคดนโลยีของบริษัทเทคโนโลยีรายใหย่อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ Fintech จะมีข้อดีและนำการเปลี่ยนแปลงมาให้ในวงการตลาดเงินและตลาดทุน แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องให้ความระมัดระวัง โดยเฉพาะในแง่ของความไว้วางใจ เพราะหากลูกค้าขาดความไว้วางใจในสถาบันการเงินแล้วจะมีผลเสียตามมารุนแรงมาก แม้ว่า Fintech จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในธุรกิจตลาดทุนแต่ก็นำมาซึ่ง "Blackbox" เป็นสิ่งที่สร้างความคลุมเครือเกี่ยวกับที่มาที่ไปของบริการ เช่น บางทีลูกค้าของ Robo advisor อาจไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังลงทุนในอะไร หรือได้รับคำแนะนำโดยอ้างอิงจากตรรกะแบบไหน
ดังนั้นผู้ให้บริการทางการเงินนอกจากจะพัฒนาเทคโนโลยีแล้วจะต้องสร้างความไว้วางใจกับลูกค้าโดยการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ให้มีความโปร่งใสอีกด้วย และความเสี่ยงด้านนวัตกรรม ที่ผู้ให้บริการในตลาดทุนต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับปริมาณผู้ใช้งาน FinTech ไปพร้อมกันได้ เพราะเป็นเรื่องปกติที่นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จมักจะนำหน้าโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับตัวมันเอง ทำให้หลายครั้งเมื่อปริมาณผู้ใช้ FinTech รายใดรายหนึ่งมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน และ FinTech เพียงรายเดียวอาจสร้างผลกระทบไปถึง FinTech อื่นหรือระบบโครงสร้างอื่นได้
ปัจจุบันการเข้ามาแข่งขันของ Startup ด้าน FinTech ในธุรกิจตลาดทุนยังเป็นเพียง "Evolution" มากกว่า "Revolution" เพราะผู้ให้บริการรายเดิมยังมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับ Startup เพื่อพัฒนาการบริการแก่ผู้ลงทุนให้ดีขึ้น และพฤติกรรมผู้ลงทุนได้เปลี่ยนมาทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์บนช่องทางออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหตุการณ์ที่วันหนึ่งจะมีการแข่งขันลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมออนไลน์ จนในที่สุดบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งเลิกคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์เหมือนที่เกิดขึ้นกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์จึงมีความเป็นไปได้ ดังนั้นผู้ให้บริการในธุรกิจตลาดทุนจำเป็นต้องเตรียมพร้อมหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ เช่น บริการด้านข้อมูล หรือการให้คำปรึกษามาทดแทน
นอกจากนี้ผู้เล่นใน Ecosystem ของตลาดทุนก็เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้เล่นที่มีศักยภาพในการแข่งขันกับกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากต่างชาติซึ่งมีข้อมูลด้านพฤติกรรมต่างๆ ของลูกค้าเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง Regulator เองก็ต้องปรับตัวโดยต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้การประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล และรู้จักนำ FinTech มาประยุกต์ใช้ในการกำกับผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุนอีกด้วย ส่วนผู้เล่นคนใดจะเป็นผู้ชนะในธุรกิจตลาดทุนนั้นยังคงไม่สามารถฟันธงได้ขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นแต่ละรายจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตนได้รวดเร็วแค่ไหน แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะนั้นดูเหมือนว่าผู้ลงทุนในธุรกิจตลาดทุนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากบริการที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
"เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ผู้ใช้ FinTech เองต้องทำความเข้าใจด้วยว่านวัตกรรมที่ใช้นั้นมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร เหมาะกับตัวท่านหรือไม่ และต้องเรียนรู้ที่จะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อความปลอดภัยด้วย และคงเป็นการดีหากมีระบบ GPS Navigator เหมือนรถยนต์ที่สามารถบอกเราได้ว่าการเดินทางของตลาดทุนในยุค FinTech อยู่ตรงจุดไหนแล้ว แต่ในความเป็นจริงคงไม่มีใครสามารถบอกพิกัดที่แน่นอนได้ เพราะสิ่งเดียวที่เที่ยงแท้เสมอในโลกนี้คือการเปลี่ยนแปลง และแทนที่จะรอคอยว่าเมื่อไหร่จะถึงจุดที่เราควรเปลี่ยน คงไม่ดีเท่ากับว่าเราลุกขึ้นมาเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นโดยเริ่มได้จากตัวเราเองตั้งแต่วันนี้"นายศิริยศ กล่าว