นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่อนุมัติคำขอเพื่อรวมกิจการ โดยการเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ในบมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลต่อการลดการแข่งขันในการให้บริการพลังงาน ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งการพิจารณาของ กกพ. ยังเป็นการพิจารณาที่ตระหนักถึงการสร้างบรรทัดฐานในการพิจารณาในระยะยาวด้วย
"กกพ. มีมติเป็นเอกฉันท์ และไม่อนุญาตให้ จีพีเอสซีในฐานะผู้ผลิตและจาหน่ายไฟฟ้าได้รับอนุญาต ซึ่งก่อนหน้าได้ยื่นขออนุญาตต่อ กกพ. เพื่อขอเข้ารวมกิจการกับ โกลว์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารับอนุญาตภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ หลังจาก กกพ. พิจารณาแล้วพบว่าการรวมกิจการดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่อุตสาหกรรมในบางพื้นที่ จะมีบริษัทที่มีอานาจการบริหารกิจการไฟฟ้าลดลงเหลือเพียงรายเดียว จึงเป็นการลดการแข่งขัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่การให้บริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ก็ตาม และ กกพ.เชื่อมั่นว่า มติที่เกิดขึ้นจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ดีและถูกต้องในระยาวด้วย"นางสาวนฤภัทร กล่าว
นางสาวนฤภัทร กล่าวว่า กกพ.ยังมีการพิจารณาในประเด็นของบางพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งผู้รับบริการอาจมีทางเลือกในการรับบริการจากผู้ประกอบการรายอื่น ได้แก่ กฟภ. และอาจจะทาให้ลดการแข่งขัน ก็พบว่าการให้บริการของ กฟภ.ก็ไม่สามารถทดแทนการให้บริการของลูกค้ากลุ่มโกลว์ ได้ เนื่องจากเหตุผลทางคุณภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ต้องการความมีเสถียรภาพ
รวมทั้ง กฟภ. ยังต้องจำหน่ายไฟฟ้าในราคาเดียวกันทั่วประเทศ (Uniform Tariff) ทำให้ไม่สามารถให้อัตราส่วนลดกับผู้รับบริการได้ ส่งผลให้เกิดการลดการแข่งขันดังกล่าว
ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มาตรา 60 และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ กกพ. มีอำนาจในการออกระเบียบ กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อมิให้มีการกระทาการใดใด อันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการพลังงาน และกรณีของ จีพีเอสซี ซึ่งเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของโกลว์ จึงเป็นการรวมกิจการ เข้าเงื่อนไขของการที่ผู้รับใบอนุญาตรายหนึ่งเข้าครอบงำผู้รับอนุญาตอีกรายหนึ่งซึ่งไม่สามารถทำได้ เว้นแต่จะขออนุญาตต่อ กกพ.เพื่อให้พิจารณาเหตุผล และความจำเป็นที่เพียงพอ หรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือผู้ใช้พลังงาน
นางสาวนฤภัทร กล่าวย้าว่า กกพ. เชื่อมั่นว่าการพิจารณาและมีมติดังกล่าวได้ยึดมั่นในการส่งเสริมและสนับสนุน แนวทางการค้าเสรี อย่างเป็นธรรม สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการลงทุนทั้งภายในประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ กกพ.ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มองค์กรธุรกิจ นักธุรกิจ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนักการเมือง และผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการรวมกิจการดังกล่าว ได้ยื่นหนังสือต่อ กกพ.เพื่อให้พิจารณาในประเด็นการผูกขาดธุรกิจ และอาจส่งผลกระทบต่อผู้ได้รับบริการพลังงาน เพื่อให้ทบทวนและพิจารณาประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ กกพ.จะได้แจ้งคำสั่งไม่อนุญาตไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจัดทำกรอบหลักการในการพิจารณาเรื่องรวมกิจการตามแนวทางข้างต้น เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป