บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส ปรับคาดการณ์รายได้การให้บริการหลักเพิ่มขึ้น 3.5-4.5% จากเดิมคาดการณ์เพิ่มขึ้น 5-7% หลังจากใน 9 เดือนแรกเอไอเอสมีรายได้การให้บริการหลัก (หรือรายได้การให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่ายและค่าเช่าเครื่องและอุปกรณ์) เติบโต 3.9% ซึ่งการปรับคาดการณ์เพื่อสะท้อนผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรก และการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ชะลอตัวลง ส่วนรายได้จากการขายซิมและอุปกรณ์ คาดการณ์รายได้จากการขายลดลง ด้วยอัตรากำไรใกล้เคียง 0%
เอไอเอสยังคงเน้นการให้บริการโครงข่าย 4G ที่มีคุณภาพพร้อมสร้างการรับรู้ของลูกค้าต่อแบรนด์เอไอเอสให้ดีขึ้น โดยคาดว่าแนวโน้มการย้ายจากระบบเติมเงินไปเป็นระบบรายเดือนจะยังคงมีต่อเนื่อง
ส่วนการเพิกถอนบมจ.ซีเอสล็อกอินโฟ (CSL) ออกจากตลาดหลักทรัพย์เสร็จสมบูรณ์ในเดือน ก.ค.61 ที่ผ่านมา โดยการเข้าซื้อ CSL เป็นการดำเนินยุทธศาสตร์สาคัญของเอไอเอสในการเติบโตในตลาดลูกค้าองค์กรในระยะยาว ในปี 61 นี้คาดว่าการเติบโตของรายได้การให้บริการหลักจะมีสัดส่วนที่มาจาก CSL น้อยกว่า 2% จากผลของการตัดรายได้ระหว่างกันหลังควบรวม
ส่วนอัตรากำไร EBITDA margin (ไม่รวมค่าเช่าเครื่องและอุปกรณ์) คาดการณ์ยังคงอยุ่ที่ 45-47% โดยในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 46.2% ทั้งนี้ บริษัทยังคงแผนการลงทุนสาหรับการขยายโครงข่าย 4G และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเช่นเดิม และคาดว่างบลงทุนที่เป็นเงินสด (ไม่รวมค่าใบอนุญาต) จะอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท และนโยบายเงินปันผลไม่ต่ากว่า 70% ของกำไรสุทธิ
ในไตรมาส 3/61 เอไอเอสมีลูกค้าทั้งสิ้น 40.6 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 552,300 เลขหมาย จากทั้งระบบเติมเงินและระบบรายเดือน ซึ่งแพ็กเกจแบบใช้งานดาต้าไม่จำกัดด้วยความเร็วคงที่ ส่งผลให้ ARPU เฉลี่ยทุกเลขหมายลดลง 2.7% เทียบกับไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 251 บาท ควบคู่กับปริมาณการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 10 กิกะไบต์/หมายเลขที่ใช้อินเทอร์เน็ต/เดือน หรือเพิ่มขึ้น 13% เทียบกับไตรมาสก่อน
ฐานลูกค้าระบบรายเดือนยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 192,100 เลขหมายเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการทาแคมเปญให้ส่วนลดโทรศัพท์และแนวโน้มการย้ายจากระบบเติมเงินมาเป็นระบบรายเดือนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เลขหมายระบบเติมเงินเติบโตได้ดีโดยเพิ่มขึ้น 360,200 เลขหมาย จากการจำหน่ายซิมที่เน้นตอบโจทย์แต่ละกลุ่มลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งมีอัตราลูกค้ายกเลิกบริการที่ลดลง
ปัจจุบัน เอไอเอส ไฟเบอร์มีลูกค้า 676,700 ราย เพิ่มขึ้น 9% รายจากไตรมาสก่อน หรือเพิ่มขึ้น 53,300 ราย อย่างไรก็ตาม จากการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้ ARPU ลดลง 2.2% เทียบกับไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 597 บาท ทั้งนี้ เอไอเอส ไฟเบอร์ยังคงเน้นหาลูกค้าคุณภาพ และคงพื้นที่บริการใน 50 จังหวัด พร้อมพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง