TWZ ลุ้นเพิ่มทุนสำเร็จลุยโรงไฟฟ้าขยะ-พัฒนาแอพบนมือถือ แต่วางแผนสำรองออกหุ้นขาย PP วางเป้าปี 62 รายได้ทรงตัว-กำไรโต

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday November 27, 2018 10:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพุทธชาติ รังคสิริ ประธานกรรมการ บมจ.ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น (TWZ) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมพร้อมแผนลงทุนที่จะนำเงินจากการระดมทุนด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ไปใช้ ทั้งการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 1-3 แห่ง และการทำธุรกิจใหม่พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพม์มือถือ แต่หากขายหุ้นได้ไม่ครบก็เตรียมแผนออกหุ้นเพิ่มทุนขายให้นักลงทนเฉพาะเจาจง (PP) ราว 2 พันล้านหุ้น หวังการทุ่มลงทุนครั้งใหญ๋ช่วยเสริมรายได้มให้เติบโตในอนาคต

ขณะที่บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 62 ยังทรงตัวจากปีนี้ หรือทำรายได้ราว 3.5 พันล้านบาท แต่กำไรน่าจะเติบโตได้ราว 5% โดยธูรกิจโทรศัพท์มือถืยอังสร้างรายได้หลักในสัดส่วนราว 80-90% ขณะที่คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เข้ามาราว 800-900 ล้านบาทจากความพยายามที่จะปิดการขายโครงการในมือให้หมดในปีนี้ และยังไม่มีแผนสร้างโครงการใหม่ ส่วนที่ดินที่ยังไม่ได้พัฒนาจะเจรจาขายทั้งโครงการให้กับนักลงทุนในประเทศที่มีความสนใจ

TWZ อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 10,223.165 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนราว 1,022.316 ล้านบาท โดยเสนอขาย RO ในอัตราส่วน 3 หุ้นเดิม ต่อ 2 หุ้นเพิ่มทุน ราคาหุ้นละ 0.12 บาท กำหนดจองซื้อระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-7 ธ.ค.61 แถมใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ TWZ (TWZ-W5) จำนวน 1 หน่วยต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุน ซึ่ง TWZ-W5 มีอายุ 1 ปี

นายพุทธชาติ กล่าวว่า บริษัทคาดหวังว่าผู้ถือหุ้นจะให้ความสนใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ เนื่องจากมูลค่าทางบัญชีของ TWZ ล่าสุดอยู่ที่หุ้นละ 0.37 บาท สูงกว่าราคาตลาด อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) อยู่ที่ 0.30 เท่าต่ำสุดในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ประมาณ 15 เท่า โดย 9 เดือนแรกของปี 61 บริษัทมีกำไรสุทธิ 55.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 729.52% โดยมีกำไรสุทธิ 0.01 บาทต่อหุ้น และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.93 เท่า ลดจาก 1.09 เท่า

สำหรับแผนการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยยีพลาสม่า ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง 1-3 แห่ง กำลังการผลิตโรงละไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งมีสัญญาขายซื้อไฟฟ้าในแบบ FiT ที่ 7.78 บาท/หน่วย ระยะเวลา 20 ปี มูลค่าลงทุนในสินทรัพย์ 3-4 พันล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนสำหรับการเข้าถือหุ้น 100% ผ่านบริษัท เกียร์คอร์ปอเรชั่นราว 300-400 ล้านบาท คาดจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ภายในเดือน ธ.ค.62 โดยปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 5%

บริษัทมองว่าการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าโซลาร์ฟาร์มที่มีอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ 4.10 บาท/หน่วย และสามารถผลิตไฟฟ้าได้นานถึง 12 ชั่วโมง/วัน สูงกว่าโซลาร์ฟาร์มที่ผลิตไฟฟ้าได้เพียง 5 ชั่วโมง/วัน รวมถึงภาครัฐส่งเสริมให้มีการกำจัดขยะ ทำให้เป็นโอกาสทางธุรกิจมีมากขึ้น โดยบริษัทมีสัญญาซื้อขยะอุตสาหกรรมจากซัพพลายเออร์แล้วเป็นระยะเวลา 3 ปี และต่อสัญญาได้อีก 15 ปี คาดว่าจะใช้เวลาคืนทุนได้เร็วในช่วง 4-5 ปีหลังจากเริ่ม COD

อนึ่ง ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มที่เป็นโครงการของหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร เฟส 2 จำนวน 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 10 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ COD ไปแล้ว และมีรายได้จากโซลาร์ฟาร์มทั้ง 2 โรง ที่ 3.7-3.9 ล้านบาท/ปี

นอกจากนี้บริษัทยังนำจะนำเงินจากการเพิ่มทุนราว 100 ล้านบาทไปลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลอื่น โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มคนทำงานและนักศึกษา คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้ ซึ่งเป็นการต่อยอดธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่บริษัทมีความชำนาญเพื่อกระจายรายได้ให้มีหลากหลายช่องทาง

นายพุทธชาติ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามหากการเพิ่มทุนในครั้งนี้มีผู้ถือหุ้นใช้สิทธิไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ บริษัทมีแผนรองรับในเรื่องดังกล่าวโดยการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่สนใจ โดยคาดว่าจะกำหนดจำนวน 2,000 ล้านหุ้น ซึ่งน่าจะได้เงินเข้ามา 200-300 ล้านบาทเพื่อลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม แต่บริษัทก็ยังมั่นใจว่าผู้ถืงหุ้นจะมาใช้สิทธิครบตามจำนวน

สำหรับทิศทางผลประกอบการในปี 52 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 3.5 พันล้านบาทใกล้เคียงปี 61 โดยรายได้หลักยังมาจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือในสัดส่วนราว 80-90% รายได้จากธุรกิจอื่นๆ 10-20% แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะทำได้ 800-900 ล้านบาท จากการขายโครงการในมือที่ยังเหลืออยู่ รายได้จากโรงไฟฟิโซลาร์ฟาร์ม และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรมที่เข้ามาช่วงเดือน ธ.ค. 62 รวมถึงรายได้จากธุรกิจใหม่ที่เป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ

แต่จะเห็นกำไรของบริษัที่เติบโตขึ้นในปี 62 ที่ตั้งเป้าเติบโต 5% จากมาร์จิ้นที่ได้ของการขายโทรศัพท์พ่วงกับแพ็คเกจของค่ายเอไอเอส และการมีส่วนแบ่งรายได้จากการเป๊นตัวแทนขายอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ของเอไอเอสที่ให้มาร์จิ้นสูง ซึ่งจะเห็นการเติบโตกำไรของบริษัที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญในการผลักดันกำไรให้เติบโตต่อเนื่อง โดยที่ธุรกิจหลักของบริษัทยังเป็นธุรกิจเทเลคอมที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้กับผลการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของบริษัทในร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายยังคงมียอดขายที่ดีและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายของเอไอเอสที่เป็นค่ายโทรศัพท์รายใหญ่ในประเทศและมีฐานลูกค้าเป็นจำนวนมาก โดยปัจจุบันบริษัทมีร้านค่า 30 สาขาในกรุงเทพฯ และยังไม่มีแผนการขยายสาขาใหม่และปิดสาขาเพิ่มเติมในปี 62 ส่วนการขายโทรศัพท์มือถือแบรนด์ TWZ ที่เป็นเฮาส์แบรนด์ของบริษัทยังมียอดขายที่ดี ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเกรด C ที่ซี้อโทรศัพท์มือถือราคาในช่วง 2,000 บาท ซึ่งแบรนด์ TWZ ถือเป็นแบรนด์มือถือเฮาส์แบรนด์ในประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดเป๊นอันดับ 1

ขณะเดียวกันยังมีรายได้เสริมที่เข้ามาจากการเป็นตัวแทนรับติดตั้งและบริการอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ออพติกของเอไอเอสในพื้นที่คลองเตยและสุขุมวิท ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพราะมีจำนวนคอนโดมิเนียมที่มีผู้พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บริษัทมีฐานลูกค้าอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ออพติกที่รับผิดชอบการให้บริการอยู่ที่ 4 พันราย และในปี 62 ทางเอไอเอสจะเปลี่ยนแปลงการให้รายได้แบบส่วนต่างของค่าบริการมาเป็นส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการ ซึ่งเป็นผลดีต่อบริษัทที่จะทำให้มีรายได้เข้ามามากขึ้นกว่าเดิม และสามารถบริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร

ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีทั้งหมด 3 โครงการที่อยู่ระหว่างการขาย ได้แก่ พัทยา กรุงเทพฯ (รัชดา) และเขาใหญ่ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปแล้ว 2 โครงการ คือ โครงการ THE PAZER พัทยา มูลค่า 500 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือขายมูลค่า 300-400 ล้านบาท โครงการ THE WIZ รัชดา มูลค่า 300 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือขาย 100 ล้านบาท ส่วนโครงการวิลล่าที่เขาใหญ่ที่ยังไม่ได้พัฒนามูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท เนื้อที่ 48 ไร่ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาขายให้กับนักลงทุนในประเทศ

นายพุทธชาติ กล่าวว่า บริษัทจะพยายามปิดการขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดภายในปี 62 เพื่อสร้างรายได้กลับคืนมา และยังไม่มีแผนการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เพราะมีความเสี่ยงเรื่องการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนราคาที่ดินที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ค่อยดี ส่งผลต่อความสามารถในการซื้อและการตัดสินใจซื้อของลูกค้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ