ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม 427,553.23 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday January 28, 2019 16:50 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (21 - 25 มกราคม 2562) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 427,553.23 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 85,510.65 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 1% ทั้งนี้เมื่อแยกตาม ประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 71% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 301,539 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขาย เท่ากับ 97,379 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 20,534 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% และ 5% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิด ขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB22DA (อายุ 3.9 ปี) LB386A (อายุ 19.4 ปี) และ LB28DA (อายุ 9.9 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อ ขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 18,996 ล้านบาท 15,755 ล้านบาท และ 13,944 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV223A (AA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,529 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด รุ่น NTL21DA (A-) มูลค่าการซื้อขาย 852 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด รุ่น AWN235A (AA+ (tha)) มูลค่าการซื้อขาย 830 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างผันผวน โดยปรับลดลงค่อนข้างมากในตราสารระยะยาวมากกว่า 3 ปี ด้านปัจจัยต่างประเทศ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.5% ในปีนี้ ต่ำกว่าระดับ 3.7% จากที่คาดการณ์ในเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับ ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งการที่อังกฤษอาจแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และเศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงมากกว่าคาด ด้านผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อวันที่ 22- 23 ม.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับติดลบร้อยละ 0.1 คงเป้าหมายผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวไว้ใกล้กับระดับศูนย์ คงนโยบายการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง และปรับคาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2561 ลดลงเหลือร้อยละ 0.9 จากร้อยละ 1.4 ขณะที่ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 24 ม.ค. มีมติคงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ระดับ 0% และจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนในปีนี้ ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าตลาดติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ

สัปดาห์ที่ผ่านมา (21 ม.ค. – 25 ม.ค. 2562) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 4,741 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 5,744 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,003 ล้านบาท และไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมด อายุ (Expired)

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                                 สัปดาห์นี้         สัปดาห์ก่อนหน้า    เปลี่ยนแปลง         สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                   (21 - 25 ม.ค. 62)   (14 - 18 ม.ค. 62)          (%)    (1 - 25 ม.ค. 62)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)           427,553.23          424,323.48        0.76%        1,536,839.96
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                              85,510.65           84,864.70        0.76%           85,380.00
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                   105.72              105.23        0.47%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index)                      104.3              104.25        0.05%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                    1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (25 ม.ค. 62)                    1.54       1.72    1.76    1.84    2.11     2.45      2.9     3.35
สัปดาห์ก่อนหน้า (18 ม.ค. 62)               1.51       1.69    1.75    1.83    2.14      2.5     3.01      3.4
เปลี่ยนแปลง (basis point)                   3          3       1       1      -3       -5      -11       -5

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ