บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ขยายธุรกิจสู่ผู้ให้บริการแลตฟอร์มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ประกาศความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์ของโลก และกลุ่มพันธมิตร คือ บมจ.เอ็มวิชั่น (MVP) เป็นผู้จัดงาน EV Expo และเป็นตัวกลางประสานงานกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่านรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และบมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART) เป็นจุดให้บริการชาร์จรถ EV เพื่อเสนอทางเลือกใหม่ในการใช้ชีวิตของคนเมือง
นางอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด DTAC กล่าวว่า DTAC นำเสนอแพลตฟอร์มและแอพพลิเคชันที่เชื่อมโยงทุกส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้ผลิครถ บริษัทประกัน บริษัทเช่าซื้อและสถาบันการเงิน ผู้ให้สินเชื่อ บริการเปลี่ยนถ่ายแบตเตอรี่ บริการซ่อมบำรุง บริการชำระเงิน ที่ผู้ใช้งานสามารถมอนิเตอร์ผ่านแอพพลิเคชัน โดยจะให้บริการแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบในเดือน พ.ค.นี้
พร้อมทั้ง จะร่วมกับ FORTH เพื่อติดตั้งตู้เปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟแล้วที่ตู้เติมเงินบุญเติม 130,000 ตู้ทั่วประเทศ โดยระยะแรกจะเริ่ม 10 ตู้ ในกรุงเทพฯ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถมอนิเตอร์ความพร้อมได้ผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่ง DTAC เชื่อว่าแนวคิดนี้จะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดสมาร์ทซิคี้ในประเทศไทย
"หลายประเทศในยุโรปแก้ปัญหามลภาวะด้วยการลดปริมาณรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานน้ำมัน ยุโรปกำหนดเป้าหมายที่จะไม่มีรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2030 ขณะที่ประเทศไทยเป็นตลาดรถมอเตอร์ไซค์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียนและเป็นอันดับ 12 ของโลก ถ้าประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าได้จะลดผลกระทบจากมลภาวะได้ อย่างไรก็ดี การใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของไทยมีอุปสรรคจากกำแพงภาษี ความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่เชื่อว่าไม่นานประเทศไทยจำต้องไปสู่ทิศทางการใช้พลังงานสะอาด"นางไรซ์ กล่าว
DTAC ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม EV Connectivity จะเป็นผู้ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตรถไฟฟ้า EV บริษัทประกันบริษัทเช่าซื้อและสถาบันการเงินและสินเชื่อบริการเปลี่ยนถ่ายแบตเตอรี่หลายจุดทั่วกรุงเทพฯบริการการรับระบบบิลลิ่งของดีแทคและพันธมิตรรวมถึงบริการซ่อมบำรุงหลังการขาย โดยสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ผ่านการเชื่อมต่อของซิมดีแทคไตรเน็ตเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชัน
บริการทั้งหมดได้ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกันผ่านแอพพลิเคชันเดียว ทั้งเช็คสถานะแบตเตอรี่ ชำระค่าเปลี่ยนถ่ายแบตเตอรี่ การแจ้งระยะทางและระบบอำนวยความสะดวกในการค้นหาเส้นทางการเดินทางระบบกันขโมย การกำหนดความเร็วสูงสุด และยังสามารถชำระค่าเช่าซื้อ การรับประกันได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังจัดเตรียมความพร้อมด้านบริการหลังการขายและการซ่อมบำรุงอย่างครบวงจร
ในเฟสแรกดีแทคและ FSMART จะร่วมกันเปิดจุดบริการชาร์จไฟฟ้าและเปลี่ยนแบตเตอรี่ผ่านตู้อัจฉริยะในพื้นที่ทดลองให้บริการในกรุงเทพฯและจะขยายจุดบริการเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต ส่วน MVP เป็นตัวกลางประสานงานกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม EV Connectivity ของ DTAC จะได้ประโยชน์ในการใช้งานที่สำคัญ ได้แก่ ช่วยประหยัดค่าน้ำมันค่าบำรุงรักษาได้มากกว่าจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันโดยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าถึง 50% สะดวกสบาย ด้วยการมีแอปพลิเคชันในการควบคุมขับขี่ได้ง่ายไม่เกิดฝุ่นควันพิษไม่มีเสียงดังบำรุงรักษาง่ายรวมถึงสามารถทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้บนแอพพลิเคชันเดียว และ มีพันธมิตรผู้ผลิตหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ทั้งจากผู้ผลิตแบรนด์จีนและยุโรปที่พร้อมใช้ด้วยแอพพลิเคชันเดียวกัน
"การให้บริการแพลตฟอร์ม EV connectivity ในครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกในการขยายธุรกิจที่เป็นมากกว่าผู้ให้บริการมือถือของดีแทคเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการกลับมาเติบโตในธุรกิจอีกครั้ง"
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดภายใต้แพลตฟอร์มของ DTAC คจะเริ่มทำตลาดเต็มรูปแบบในเดือน มิ.ย.โดยจะมีรุ่นที่เข้าร่วมเบื้องต้น 3-5 รุ่น โดย DTAC มีแผนจะวางจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ โดยจะมีการจำหน่ายผ่านช่องทาง Shop ของ DTAC และร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั่วไป
"โปรเจ็คนี้จะเป็นการทดลอง ซึ่งเราจะให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มก่อน โดยเป้าหมายยอดขายยังไม่ได้กำหนด ต้องประเมินดูความต้องการใช้ของลูกค้าก่อนว่ามีความสนใจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งวันนี้เราก็ให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความจำนงสนใจจองรถดังกล่าวไว้ก่อน โดยในเฟสแรก เรามีจำนวนรถที่รองรับกับแพลตฟอร์ม EV Connectivity ไว้ 200 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น DCOOTER E2 โดยลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมแพลตฟอร์มและยังไม่ได้เป็นลูกค้าดีแทค สามารถเปิดซิมใหม่พร้อมแพ็กเกจในราคา 349 บาท/เดือน"
นายโอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MVP กล่าวว่า ความร่วมมือกับ DTAC และ FSMART ครั้งนี้ ยังจะช่วยส่งเสริมให้ตลาด EV ในประเทศไทยมีการเติบโตมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสนับสนุนบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทางด้านการจัดการและการร่วมมือกับพันธมิตรจำหน่ายยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจะทำให้มลพิษทางอากาศลดลง
ทั้งนี้ บริษัทเซ็นสัญญา (MOU) ร่วมกันระหว่างบริษัทฯ, DTAC และ FSMART โดยจะมีระยะเวลาสัญญา 1 ปี โดยบริษัทจะทำหน้าที่ในการให้บริการแปลงระบบปฎิบัติการให้เป็นภาษาไทยให้แก่ผู้ที่นำเข้ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศ ซึ่งบริษัทจะรับรู้รายได้จากการให้บริการดังกล่าวเข้ามาเต็ม 100% ขณะที่ยังรับรู้รายได้จากส่วนแบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมจากบริการสินเชื่อเช่าซื้อ, ประกันภัย,แบตเตอรี่ เป็นต้น ที่จะเข้ามาอยู่ภายใต้ในแพลตฟอร์มดังกล่าว
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีผู้ที่สนใจทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกับบริษัทอีกหลายราย โดยบริษัทฯ มองว่าตลาด EV มีโอกาสเติบโตมากขึ้น เป็นไปตามความต้องการใช้ ซึ่งบริษัทวางเป้าหมายยอดใช้แพลตฟอร์มสิ้นปีนี้อยู่ที่ 1 หมื่นคัน
นายพงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานกรรมการบริหาร FSMART กล่าวว่า FSMART และบริษัทในเครือจะเข้าไปดูแลการให้บริการสถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าผ่านตู้อัจฉริยะที่เตรียมให้บริการในอนาคตตามสถานที่ต่างๆ อาทิ แหล่งชุมชน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น โดยอาศัยจุดแข็งการบริหารจัดการด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม พร้อมขยายจุดให้บริการจากตัวแทนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มีการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์ จากการพัฒนาที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในรูปแบบการติดตั้งบริเวณออฟฟิศคอนโด (Station) ละการติดตั้งในบ้านพักอาศัย (Wall type) และเตรียมติดตั้งเพื่อให้บริการตามสถานที่ต่างๆ ในปีนี้
สำหรับการให้บริการชาร์จไฟฟ้าและเปลี่ยนแบตเตอรี่ในครั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าให้บริการตู้ชาร์จแบตเตอรรี่เบื้องต้น 10 จุด ในกรุงเทพฯ โดยจะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ประมาณ 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และจะวิ่งได้ราว 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ซึ่งรูปแบบการเติมแบตเตอรรี่ ขณะนี้มี 2 แนวทาง ได้แก่ การนำแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนให้ หรือจะนำแบตเตอรี่ไปชาร์จกับตู้ชาร์จฯ โดยตู้ชาร์จ 1 ตู้จะรองรับได้ครั้งละ 14 ก้อน
https://youtu.be/5Y4cpdmYxIw