นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทคงมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายเป็นบลจ.ที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุด บริษัทจะเน้นสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และยังครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 โดย ณ 31 ม.ค.62 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ที่ 1.5 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายเพิ่มฐานลูกค้าจากช่องทางดิจิทัลแพลตฟอร์ม 4 แสนราย เพิ่มเท่าตัวจากปัจจุบันฐานลูกค้า 4 แสนราย เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ และเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
ในปีนี้ คาดว่ากองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) จะมีการเติบโตมากต่อเนื่องจากปีก่อน โดยประเมินว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 3-5 หมื่นล้านบาท โดย ณ 31 ม.ค.62 มี AUM ที่สูงถึง 4.23 แสนล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดที่ 42.7% และยังคงครองอันดับ 1 ส่วนธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)มี AUM ณ 31 ม.ค.62 ที่ 1.16 แสนล้านบาท
และธุรกิจกองทุนรวม (Mutual Fund) มี AUM ณ 31 ม.ค.62 ที่ 9.62 แสนล้านบาท ซึ่งรวมกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่า 1.46 แสนล้านบาท และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 2.02 หมื่นล้านบาท ส่วน กองทุนตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) บลจ.ไทยพาณิชย์มีส่วนแบ่งตลาดที่ 50% ครองอันดับ 1
ทั้งนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ จะมีการออกกองทุนที่ตอบโจทย์ลุกค้ามากขึ้น ได้แก่ กองทุนคุ้มครองเงินต้น เพราะในปีนี้คาดว่าตลาดยังคงผันผวนต่อเนื่องจากปีก่อน ในระหว่างนี้อยู่ระหว่างรอจังหวะก่อน รองรับลูกค้าบริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดกกองทุนตราสารหนี้อันดับหนึ่ง นอกจากนี้มี กองทุนที่เน้นการลงทุนในต่างประเทศ และกองทุน Infrastructure มีแนวโน้มเพิ่มขนาดสินทรัพย์ และยังลดค่าธรรมเนียมกองทุนบางประเภท ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ให้มีค่าธรรมเนียมต่ำเพราะผุ้ลงทุนถือระยะยาว , Index Fund เป็นต้น
"ปีนี้จะเป็นปีที่เข้าถึง(ลูกค้า)มากกว่าขยายไซส์ ไม่มีเป้า AUM เน้น quality เป็นปีแรกที่จะที่จะวัดความพึงพอใจลูกค้า ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ประเมินลูกค้าได้จากทั้งผลการดำเนินงาน ได้ผลตอบแทนที่ดี ปรับค่าธรรมเนียม"
นายณรงค์ศักดิ์ คาดว่าตลาดกองทุนรวมในปีนี้จะเติบโตไม่ถึง 10% จากปีก่อนเติบโต 0.40% เป็นผลจากตลาดหุ้นผันผวน และกองทุนตราสารหนี้ได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษี ซึ่งมอว่าอาจจะไหลเข้ากองทุนหุ้น หรือกองทุนต่างประเทศ
บริษัทจะเป็นผู้นำด้านดิจทัลด้วยการต่อยอดนำระบบ AI และ Machine Learning มาขยายการลงทุนไปทั่วโลก รวมถึงนำมาใช้กับการลงทุนใน FX ตราสารหนี้ ตลอดจนนำมาใช้ในการจัดสรรสินทรัพย์ และการทำ Market Timing โดยปัจจุบัน บริษัทได้เริ่มนำระบบการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Languge Processing:NLP) เข้ามาใช้ประมวลผลข้อมูลที่เป็นข้อความ (text data) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาเลือกหุ้นที่จะลงทุนซึ่งมีความแม่นยำค่อนข้างสูง
"ปีที่ผ่านมาเราได้ทดลองนำข้อมูลข่าวสารและบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ซึ่งมีเข้ามาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยการแปลงให้เป็น sentiment score เพื่อใช้เลือกหุ้นที่จะลงทุนซึ่งเมื่อทดลองแล้วเห็นผลที่ค่อนข้างแม่นยำ จึงมีแผนจะขยายการนำข้อมูล text จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ มาใช้เพิ่มขึ้น เช่น ข้อมูลจาก Social media FB Twitter หรือการค้นหาคำใน google เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับ factor ของกองทุนให้มากขึ้น"
ขณะที่บริษัทเร่งพัฒนา SCBAM Digital Platform เพื่อนำเสนอบริการและให้ข้อมูลข่าวสารความรู้กับลูกค้าได้อย่างครบวงจร เช่น SCBSETE ซึ่งเป็นกองทุนฟรีค่าธรรมเนียมเสนอขายผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ผ่านดิจิทัล และยังมี ACBAM Line Official พร้อม Chatbot เป็นช่องที่ที่สื่อตรงกับลูกค้าผ่านออนไลน์แชท นอกจากนี้ให้ข้อมุลข่าวสารความรุ้ผ่าน Social Media เช่น Facebook และ Youtube และยังมีตัวแทนขายต่างๆด้วยที่บริษัทจับมือกั้บตัวแทนขายใหม่ๆที่เป็นออนลไน์แพลตฟอร์ม
นายณรงค์ศักดิ์ มองตลาดหุ้นไทยใน 12 เดือนข้างหน้ามีโอกาสปรับตัวขิ้นมาที่ 2,000 จุด มาจากเม็ดเงินจากต่างประเทศกลับเข้ามาหลังได้มีการเลือกตั้งแล้ว โดยนักลงทุนต่างประเทศได้ขายสุทธิไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งมองว่า downside risk น้อยกว่า upside risk ประกอบกับคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในระยะยาว เพราะคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนตัวต่อเนื่อง หลังเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ และตัวเลขดุลการค้าของไทยเป็นบวกต เหล่นี้เป็นปัจจัยบวกที่น่าจะเข้าลงทุนตลาดไทย
นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส รองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนปี 62 ตลาดจะมีความผันผวนลักษณะใกล้เคียงปีที่แล้ว ทำให้นักลงทุนสามารถหาจังหวะทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ โดยตั้งแต่ต้นปีนี้ตลาดหุ้นทั้งตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ต่างให้ผลตอบแทนเป็นบวกหุ้นไทยบวก5% หุ้นโลกบวกกว่า 10% จากช่วงปลายปีที่แล้วเกือบทุกตลาดติดลบ เป็นเพราะประเด้นความเสี่ยงที่ตลาดเคยกังวลมีพัฒนาในทางดีขึ้น
ทั้งนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ ชอบตลาดจีน ที่ปีก่อนปรับลดไปราว 30% จากภาวะเศรษฐกิจ เชื่อว่ารัฐบาลจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ MSCI เพิ่มน้ำหนักการลทุน ส่วนตลาดหุ้นไทย มีปัจจัยบวกได้แก่ ในพ.ค.จะมีพระราชพิธีราชาภิเษก ความชัดเจนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในไตรมาส 2 รวมทั้งท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ดูผ่อนปรนมากขึ้นจากการใช้นโยบายการเงินที่ขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีก่อน แต่ธ.ค.61 มีการส่งสัญญาณปรับลดเหลือ 2 ครั้งในปีนี้ และเในการประชุมล่าสุดเริ่มมีการพูดถึงการหยุดลด Balance Sheet ยังมีธนาคารกลางยุโรป ที่เริ่มพูดถึงโอกาสที่จะทำโปรแกรมอันฉีดเงินอีก รวมทั้งความคืบหน้าของการเจรจากาค้าระหว่างสหรัฐและจีนดูใกล้จะหาข้อตกลงกันได้