นายพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธนาคารและ บลจ.กรุงศรี ร่วมกันนำเสนอ กองทุนเปิดกรุงศรีชีวิตดีเริ่ด (KFSUPER) ซึ่งเป็นกองทุนผสมในซีรี่ส์เดียวกันกับกองทุน KFHAPPY และ KFGOOD ที่ออกมาก่อนหน้านี้ มุ่งหวังตอบโจทย์ของลูกค้าที่ต้องการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ และให้ความสำคัญกับการเพิ่มโอกาสสร้างการเติบโตของเงินลงทุนจากการสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่เพิ่มขึ้นจาก 2 กองทุนก่อนหน้า โดยลูกค้าสามารถลงทุนในกองทุนนี้ผ่านสาขาทั่วประเทศหรือช่องทางออนไลน์ของธนาคารได้อย่างสะดวกง่ายดาย
นางสาวศิริพร สินาเจริญ กรรมการผู้จัดการ บลจ. กรุงศรี เปิดเผยว่า หากจะลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอและสามารถเอาชนะเงินเฟ้อในระยะยาวโดยไม่ต้องเสี่ยงสูง การกระจายการลงทุนและการจัดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มีความสำคัญมาก ควรเลือกทั้งสินทรัพย์ที่เน้นความมั่นคงอย่างตราสารหนี้ และสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตอย่างหุ้น และ REITs ควบคู่กันไป อีกประการที่สำคัญคือการจัดสัดส่วนที่สมดุลเหมาะสมกับสภาพตลาดซึ่งผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจะทำหน้าที่ปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนตามมุมมองต่อสถานการณ์การลงทุน
"จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของกองทุนเปิดกรุงศรีชีวิตดีเริ่ด (KFSUPER) และกองทุนเปิดกรุงศรีชีวิตดีเริ่ดเพื่อการเลี้ยงชีพ(KFSUPERRMF) ที่มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในส่วนของตราสารหนี้ หุ้นและ REITs โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น REITs กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในระดับไม่เกิน 75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ทำให้เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น สัดส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มความมั่นคงของเงินลงทุน"
จุดเด่นของกองทุน KFSUPER และกองทุน KFSUPERRMF คือความยืดหยุ่นในการจัดพอร์ตการลงทุน โดยในส่วนของหุ้นนั้นผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกหุ้นได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดและประเภทหุ้นที่สามารถลงทุนได้ ในภาวะที่ตลาดผันผวนหรือมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไม่สดใส ผู้จัดการกองทุนสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ได้สูงถึง 100%ของNAV เพื่อลดระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้ กองทุนKFSUPER และกองทุนKFSUPERRMF มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 5: (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นนั้นจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เจาะลึกปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัวและพิจารณาลงทุนในบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีการเติบโตต่อเนื่องและมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิที่ชัดเจนในระยะกลางถึงยาว ทำให้มีความคล่องตัวในการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับภาวะตลาดได้ดี ด้านกลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้จะมีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภท เน้นสร้างการเติบโตในระยะยาวและเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารอายุเฉลี่ยของตราสารเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ กองทุนยังมีกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่งจากจุดแข็งของทีมผู้จัดการกองทุนหุ้นและทีมผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานและได้รับหลายรางวัลจากการบริหารกองทุน อาทิ Money & Banking Awards 2017 /Morningstar Thailand Fund Awards 2018(ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / รางวัลดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด)
"กองทุนKFSUPER และกองทุนKFSUPERRMFเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีแต่ไม่ต้องการลงทุนในหุ้นเต็มร้อย เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน บลจ.กรุงศรี เชื่อมั่นว่าทั้งสองกองทุนดังกล่าวจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนเช่นเดียวกับกองทุน KFHAPPY และกองทุน KFGOOD ที่ได้เปิดขายไปก่อนหน้านี้และมีผลการดำเนินงานค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัด"
นางสาวศิริพร กล่าวว่า บลจ.กรุงศรี มีมุมมองการลงทุนที่ดีต่อตลาดหุ้นไทยในระยะยาว เนื่องจากมีปัจจัยขับเคลื่อนหลายประการ ทั้งในส่วนของการคลายความกังวลด้านสงครามการค้า ทิศทางการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ชะลอตัวลง และการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยการเติบโตของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยน่าจะสอดคล้องกับการเติบโตของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ด้านปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าติดตาม ได้แก่ ตัวเลขรายได้ภาคการเกษตรและการเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างชาติ
และบริษัทยังคงมุมมองของการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยที่ระดับปานกลางจากการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยไปอีกระยะเวลาหนึ่ง สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนตลาดตราสารหนี้ไทย ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่าประเทศอื่นๆ และท่าทีเชิงผ่อนคลายของการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้านปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าติดตามได้แก่ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยและการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ผ