บมจ.ดุสิตธานี (DTC) ผนึก บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ในโครงการ"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" โครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส มูลค่าการลงทุนโครงการ 36,700 ล้านบาท โดยโครงการประกอบด้วย โรงแรม ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน พื้นที่รวม 440,000 ตร.ม. บนที่ดินกว่า 23 ไร่ ตรงมุมถนนสีลม-พระราม4 ภายใต้แนวคิด "Hear for Bangkok"
ประกอบด้วยโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯที่สร้างขึ้นมาใหม่ เป็นโรงแรมขนาด 250 ห้อง ที่มีความสูง 39 จากเดิมที่มีกว่า 500 ห้อง ในส่วนอาคารที่พักอาศัย อาคารสูง 69 ชั้น จำนวน 389 ยูนิต บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นดุสิต เรสซิเดนเซส (Dusit Residences) จำนวน 159 ยูนิต อยู่บนชั่น 30-69 และ ดุสิต พาร์คไซด์ (Dusit Parkside) จำนวน 230 ยูนิต ชั้น 9-29 เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยวิวแบบพาโนรามาของสวนลุมพินีและวิวเส้นขอบฟ้าอันสวยงามของมหานครกรุงเทพฯ
ส่วนศูนย์การค้าแบรนด์ "เซ็นทรัล พาร์ค" (Central Park) บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร สูง 7 ชั้นบวก 1 ชั้นที่ตกแต่งเป็นสวน แบบ Rooftop Park และ เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส (Central Park Offices) บนพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร อาคารสูง 49 ชั้น
ทั้งนี้ โรงแรมดุสิตธานีแห่งใหม่จะเปิดให้บริการในปลายปี 2565 เป็นอันดับแรกก่อน และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพาร์ค จะเปิดบริการในไตรมาส 3 ปี 2566 ขณะที่ที่พักอาศัย ทั้ง Dusit Residences และ Dusit Parkside จะสร้างเสร็จในปี 2567 ซึ่งจะเปิดให้จองได้ในครึ่งหลังปี 62 โดยจะให้กรรมสิทธิเช่า 60 ปีโดยสัญญาเป็น 30 ปี บวก 30 ปี และอาคารสำนักงานก็สร้างเสร็จในปี 2567 เช่นกัน
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม DTC กล่าวว่า เนื่องจากที่ดินทั้ง 23 ไร่ที่ลงทุนโครงการนี้มีแบบเช่า ระยะเวลา 67 ปี ใช้เวลาก่อสร้างโครงการ 7 ปี จะเหลืออายุ 60 ปี ให้เช่าใช้ ซึ่งที่ดินแบบเช่า (Leasehold) ราคาย่อมเยากว่าที่ดิน Freehold การเช่าระยะยาวราคาย่อมต่ำกว่าราคาที่ดิน Freehold ดังนั้นราคา Residences จึงเข้าถึงได้ง่าย ถือว่าเป้นจุดขาย และไม่ต้องกังวลสัดส่วนต่างชาติ ซึ่งน่าจะทำการตลาดได้อย่างเต็มที่ ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคาขายเป็นตารางเมตร
โครงการนี้เป็นการร่วมทุนของทั้ง DTC และ CPN ผ่านบริษัท วิมานสุริยา จำกัด โดย DTC ถือหุ้น 60% และ CPN ถือ 40% โดยบริษัทนี้จะเข้าไปดูแลโครงการและบริหารโครงการ ยกเว้นในส่วนอาคารสำนักงานที่ CPN จะเป็นผู้ดูแล
สำหรับเม็ดเงินลงทุน แต่ละฝ่ายลงทุนตามสัดส่วน โดย DTC จะกำไรจากการดำเนินการในช่วง 5 ปีนี้และเงินกู่โครงการ (project finance) ทยอยเข้ามาลงทุน และไม่กระทบสภาพคล่องของบริษัท รวมทั้งไม่มีเพิ่มทุน
นางศุภจี กล่าวว่า โรงแรมดุสิตธานีเดิมอยู่บนพื้นที่ 18 ไร่ และได้สร้างมากว่า 50 ปี และไม่สามารถปรับปรุงโรงแรมได้ และสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้เราไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เพราะเห็นแล้วว่าที่ดินที่มีอยุ่มีศักยภาพสูงมาก แค่ทำเป็นโรงแรม คงไม่ได้ บริษัทจึงจำเป็นต้องทำโครงการที่มีทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และที่พักอาศัย และเห็นว่าควรหาพาร์ตเนอร์ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันก็จึงได้ CPN เข้ามาร่วมในโครงกานี้
แม้ว่าบนถนนพระราม 4 จะมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นและจะมีการแข่งขันสูง แต่เรามองว่าเป็นทำเลจุดตัดของการจราจรทุกระบบ ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) รถไฟฟ้าบีทีเอส ถนน และที่โดดเด่นคือใกล้สวนสาธารณะขนาดใหญ่ โดยดีไซน์ทุกอาคารจะมองเห็นสวนลุมพินี และยังคงสถาปัตนยกรรมที่โดดเด่นของโรงแรมดุสิตธานีไว้ โรงแรมดุสิตธานีใหม่จะนำจุดเด่นของโรงแรมดุสิตธานีเดิมเข้ามาดีไซน์เข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ จุดยอดสีทอง น้ำตก ห้องอาหารเญจรงค์ ภาพฝาผนัง เป็นต้น
ด้านนางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CPN กล่าวว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ Here for Bangkok จะเป็นมากกว่าการสร้างมิกซ์ยูสทั่วไป โดยเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะบุกเบิกและพลิกโฉมกรุงเทพฯและสร้างซูเปอร์คอร์ซีบีดี (Super Core CBD)เป็นหมุดหมายหรือจิ๊กซอว์สำคัญเชื่อมโยง 4 ย่านสำคัญทั้ง 4 ทิศของกรุงเทพฯ มุ่งตรงสู่ใจกลางเดียว ได้แก่ ย่านราชประสงค์ทางทิศเหนือ เจริญกรุงทางทิศใต้ สุขุมวิททางทิศตะวันออกและเยาวราชทางทิศตะวันตก ทำให้เกิดเป็น ‘The New Junction’ที่เชื่อมโยงทุกย่านสำคัญของกรุงเทพฯ
และสิ่งสำคัญกว่านั้นคือเชื่อมให้ทุกย่านรอบๆ นี้ให้เติบโตไปพร้อมกันซึ่งเราจะเป็นจุดกลางเชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งย่านเก่าและย่านใหม่ รวมถึงย่าน Financial เข้ากับย่าน Commercial ซึ่งจะช่วยยกระดับผังเมืองกรุงเทพฯ ให้เชื่อมต่ออย่างลงตัวที่สุดตอบโจทย์ทั้งทางธุรกิจและไลฟ์สไตล์
นางศุภจี กล่าวว่า โรงแรมดุสิตธานีเดิมจะเริ่มทุบเพื่อสร้างใหม่ในเดือนเม.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทยังคาดว่ารายได้จะเติบโต 8-10% จากปีก่อนที่มี 5.5 พันล้านบาท ที่มาจากการเติบโตทุกธุรกิจ โดยในปีนี้ จะเข้าซื้อกิจการโครงการทำเลบ้านราชประสงค์ ที่มีอายุเช่า 19 ปี และ โครงการทำเลป้อมปราบศัตรูพ่าย อายุเช่า 19 ปีเช่นกันโดยจะทำโรงแรมแบรนด์ (ASAI) ของ DTC เป็น " ASAI ไชน่าทาวน์" ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ที่จะประชุมในวันที่ 26 เม.ย.นี้เพื่ออนุมัติ และคาดว่าในเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้จะเข้าลงทุนได้
นายณรงค์ชัย ว่องธรวิโมกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินกลุ่ม DTC กล่าวว่า โรงแรมดุสิตเดิมทำรายได้ให้กลุ่ม DTC ราว 800 ล้านบาทต่อปี เมื่อปิดบริการในช่วงที่ก่อสร้างแห่งใหม่ บริษัทจะหาแหล่งรายได้อื่นเข้ามาทดแทน ได้แก่ การเข้าซื้อกิกจารที่ดำเนินกิจการอยุ่แล้ว และเพิ่งลงทุนธุรกิจอาหาร ในบริษัท เอ็บเพอคิวร์ เคเทอริ่ง จำกัด ซึ่งได้ลงทุนแล้ว 51% และจะขยับขึ้นมาเป็น 70% ภายในปีนี้ ส่วนนี้จะสร้างรายได้ปีละประมษณ 300-400 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน DTC จะขายโครงการโรงแรมดุสิตะนี มัลดีฟส์เข้าทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี (DREIT) มุลค่า 2.3 พันล้านบาท ในเดือน ก.ย. 62